Page 100 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 100
๘๖
อุตสาหกรรมของประเทศไทยตามมาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขใน
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมไว้เพียงแต่ว่า สิ่งที่ผู้ที่จะจัดทําโครงการต้องยื่นต่อคณะกรรมการเพื่อขอ
อนุมัติประกอบไปด้วย เอกสารโครงการที่ระบุอุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการปรับปรุงที่ดิน ระบบ
สาธารณูปโภค แผนผังการใช้ที่ดิน แผนที่โดยสังเขป การจัดการของเสีย รวมทั้งเอกสารแสดงความ
เป็นไปได้ทางการเงิน ตั้งแต่ขนาดของการลงทุน แหล่งเงินทุน แผนการตลาดและแผนการเงิน เอกสาร
แสดงขนาดที่ดินและความเป็นไปได้เรื่องที่ดินที่จะใช้ในการดําเนินการเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านในจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์มีการแสดงความคิดเห็นและจุดยืนต่อสาธารณะว่าไม่ต้องการโครงการ รวมทั้งได้มีการ
ยื่นหนังสือถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมาโดยตลอดว่าไม่ต้องการนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก
รวมทั้งจากหนังสือขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึง ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงนาม
โดย น.ส.วนิดา จิระกุล นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึงปัจจุบัน ถึงผู้ว่าการการนิคม
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่าในการให้ความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึงให้
จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นั้น ทางองค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึง
ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนมีความเห็น ทั้งนี้ตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กําหนดให้โครงการหรือกิจกรรมที่อาจจะก่อ
ผลกระทบอย่างรุนแรง ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ซึ่งควรมี
การปรับเปลี่ยนแก้ไข พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้อนุวัตร
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ก่อน
๕.๑.๔ ข้อเสนอของคนประจวบคีรีขันธ์
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัด
จากการจัดเวทีประชุมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของโครงการร่วมกับคณะอนุกรรมการ
สิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสํานักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ ศาลากลาง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ เรื่องยุทธศาสตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ความก้าวหน้าในการประสานส่วนร่วมของภาคประชาชน สามารถสรุปข้อเสนอของชาวบ้านได้ดังนี้
๑) ทบทวนนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ํา ชาวประจวบคีรีขันธ์
ต้องการให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทบทวนนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําของประเทศ
เพราะว่าประเทศไทยไม่มีวัตถุดิบแร่เหล็กเป็นของตัวเอง ไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีเทคโนโลยี การส่งเสริม