Page 101 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 101

๘๗







                  อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําจึงเป็นเพียงการรองรับการย้ายฐานการผลิตเหล็กและอุตสาหกรรมรถยนต์ของ
                  ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น คนประจวบคีรีขันธ์ไม่มีความรู้เรื่องเหล็ก  แต่ชํานาญเรื่องสับปะรด มะพร้าว

                  ประมง พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ยังเป็นพื้นที่มีภัยแล้งซ้ําซากไม่เหมาะสมกับการตั้งอุตสาหกรรม

                  เหล็กต้นน้ําที่มีความต้องปริมาณน้ําใช้สูงมาก อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ํายังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงมาก
                  นอกจากนี้อุตสาหกรรมเหล็กยังมีมลพิษสูงและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรุนแรง การ

                  พัฒนาเมืองมลพิษเป็นความคิดของคนไร้วิสัยทัศน์

                                ๒)  พัฒนากรอบยุทธศาสตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

                  และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ที่ให้ความสําคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและเป็นธรรม รวมทั้งให้มี

                  การกระจายรายได้ และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และเป็น
                  แผนการส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืนเพื่อสังคมมิตรไมตรี รับผิดชอบต่อคนรุ่นต่อไป และเป็นการพัฒนา

                  ที่เป็นธรรม

                                ๓)  ประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัดและประชาชนในการวางยุทธศาสตร์และ

                  แผนพัฒนาจังหวัดร่วมกัน ทั้งในด้านการพัฒนาคนให้มีส่วนร่วม การสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างชีวิต

                  สร้างความสมดุลทางด้านอาหารและพลังงาน เศรษฐกิจและมีเสถียรภาพของความรู้ เชื่อมโยงเศรษฐกิจ
                  และความมั่นคงของภูมิภาคพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์ฟื้นฟูและการสร้างสังคมคาร์บอนต่ํา (Low

                  Carbon Society) ซึ่งเป็นสังคมที่ผู้คนในสังคมหันมาร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน

                  ทุกรูปแบบหรือในกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการดํารงชีวิตปกติ โดยเฉพาะการลดปริมาณก๊าซ
                  คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตของโรงงานหรือภาคอุตสาหกรรม เพื่อจะได้อยู่

                  ร่วมกันในสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี จากกรอบนี้มีการวางทิศทางการพัฒนาโดยดูศักยภาพเศรษฐกิจและ

                  ดูวิถีชีวิตของชุมชน กําหนดขึ้นมาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด

                                ๔)  ขยายยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องประมงและประมงพื้นบ้าน ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา

                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะประสบความสําเร็จในการจัดทํายุทธศาสตร์และแผนจังหวัด โดยมีการ
                  พิจารณาจากศักยภาพจังหวัดและใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการจัดทํา และได้มี

                  ข้อสรุปว่าการพัฒนาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่มีเรื่องอุตสาหกรรมเหล็ก รวมทั้งร่วมกันกําหนด

                  ยุทธศาสตร์ของจังหวัดไว้ว่า “ท่องเที่ยวอย่างมีคุณค่า สับปะรดและมะพร้าวเป็นที่หนึ่งของโลก และ
                  สังคมแห่งมิตรไมตรี” แต่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็ยังมีชุมชนประมงพื้นบ้านตลอด

                  แนวชายฝั่งทะเล ๒๒๕ กิโลเมตร รวม ๔๘ หมู่บ้าน รวมทั้งยังเป็นแหล่งวางไข่ปลาทูปลาที่คนไทยกิน

                  มากที่สุด ( ร้อยละ ๗๑ เป็นปลาทูจากฝั่งอ่าวไทย ) มีผลผลิตประมงเพื่อบริโภคทั้งภายในประเทศและ
                  การส่งออก ปัจจุบันรายได้ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประมงพาณิชย์ประมาณ ๗๗๐ ล้านบาทต่อปี

                  และประมงพื้นบ้านประมาณ ๗๐๐ ล้านบาทต่อปี ซึ่งชาวบ้านคาดว่ารายได้จากชุมชนประมงขนาดเล็ก
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106