Page 95 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 95
๘๑
๖๐,๐๐๐-๑๐๐,๐๐๐ DWT ได้ครั้งละ ๒ ลํา ส่วนท่ารอง ตัวท่ามีขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๒๔๕ เมตร
ระดับน้ําลึก ๘-๑๑ เมตร สามารถจอดเรือขนาด ๒๐,๐๐๐ DWT ได้ครั้งละ ๒ ลํา
สําหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกแห่งใหม่ของเครือสหวิริยาที่ชาวบ้าน
ร้องเรียน เป็นการขยายท่าเรือเพิ่มเพื่อที่จะรองรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรม
ต่าง ๆ ภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตก ปัจจุบันนั้นยังไม่มีการดําเนินโครงการท่าเรือใหม่ มี
เพียงแต่โครงการขุดทางระบายน้ําออกทะเลของคลองแม่รําพึงแห่งใหม่ของกรมชลประทาน ซึ่งคาดว่า
น่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางขนส่งถ่านหินทางเรือเพื่อเชื่อมไปยังพื้นที่เตรียมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดย
จะมีการขุดทางระบายน้ําเพื่อออกทะเลของคลองแม่รําพึงแห่งใหม่ ด้วยการขุดลอกและขยายคลองเป็น
ขนาด ๑๐๐ เมตร และขยายพนังริมคลองอีกประมาณ ๒๐ เมตร และขุดคลองระบายน้ําใหม่ยาว
ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ลงสู่ชายหาดบริเวณบ้านท่ามะนาว
ชาวบ้านได้ออกมาคัดค้านโครงการขุดลอกทางระบายน้ํา เนื่องจากคาดว่า
โครงการจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการท่าเรือแห่งใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการสร้าง
ท่าเรือเดิมที่ทําให้อ่าวเทียนซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสําคัญของอําเภอบางสะพานเปลี่ยนสภาพไปจากการ
กัดเซาะชายฝั่ง และการขุดขยายร่องน้ําก็จะทําให้ชาวบ้านต้องสูญเสียที่ดิน รวมทั้งกรมทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่งก็ได้มีความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การระบายน้ําจากการขุดลอกคลองลงสู่ชายฝั่ง จะทําให้
ระบบนิเวศของคลองเปลี่ยนไปและส่งผลต่อป่าชายเลนและป่าพรุแม่รําพึงที่ปกติได้รับน้ํากร่อยตาม
ธรรมชาติผ่านคลองแม่รําพึง นอกจากนี้จะทําให้มีของเสียและธาตุอาหารเพิ่มขึ้น คุณภาพน้ําชายฝั่งจะมี
การเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อความสวยงามของหาดทรายธรรมชาติซึ่งเป็นที่ท่องเที่ยวสําคัญ
รวมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง ทั้งนี้การดําเนินโครงการควรจัดให้มี
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน จากการรวมตัวกันคัดค้านตลอด
มาของชาวบ้านทําให้จนกระทั่งปัจจุบันโครงการก็ยังไม่สามารถดําเนินการ
๔) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก อําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้
ริเริ่มดําเนินโครงการขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอกและบ้านกรูด ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาซื้อที่ดินในตําบลนาหูกวาง อําเภอทับสะแก เนื้อที่
ประมาณ ๔,๑๔๒ ไร่ ในวงเงินสูงถึง ๒,๐๐๐ ล้านบาท และวางแผนที่จะเริ่มก่อสร้างใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๓
ด้วยกําลังการผลิตเริ่มต้น ๒,๘๐๐ เมกะวัตต์ จาก ๔ หน่วยการผลิต หน่วยละ ๗๐๐ เมกะวัตต์ เพื่อที่จะ
เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และตั้งเป้าหมายที่จะขยายให้เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด
ในเอเชียด้วยกําลังการผลิต ๔,๐๐๐ เมกะวัตต์ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ๒๔,๗๐๔ ตันต่อวัน และมี
ความต้องการใช้น้ํา ๔๙๘,๖๐๑ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน