Page 97 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 97

๘๓







                             นโยบายของรัฐดังกล่าวส่งผลให้สํานักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้บรรจุนโยบาย
                  เหล็กไว้ในยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดมาโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่ฐานทรัพยากรท้องถิ่นของจังหวัด

                  ประจวบคีรีขันธ์เป็น เกษตร ท่องเที่ยว และประมงชายฝั่ง ในขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กนั้นต้องนําเข้า

                  วัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ได้แก่ สินแร่เหล็ก ถ่านหิน ถ่านโค๊ก ฯลฯ และเป็นที่น่าสังเกตว่า
                  ประเทศญี่ปุ่นในนามของ JICA  ที่เป็นผู้ริเริ่มกําหนดยุทธศาสตร์เหล็กในประเทศไทย ไม่ได้อนุญาตให้มี

                  การก่อสร้างโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ําเพิ่มขึ้นใหม่ในประเทศมากว่ายี่สิบปีแล้ว เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่

                  ก่อให้เกิดมลพิษสูงและทําให้เกิดโลกร้อนสูงมาก และบริษัทนิปปอน สตีล หรือ เจเอฟสตีล ของญี่ปุ่นที่
                  เป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก ก็แสดงความสนใจอย่างชัดเจนที่จะขอรับการสนับสนุนจาก

                  คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ที่จะลงทุนผลิตเหล็กต้นน้ําในประเทศไทย

                             จากเวทีสนทนากลุ่มชาวบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้แสดงความคิดเห็นชัดเจน

                  ถึงประเด็นที่ถูกละเมิดสิทธิในการพัฒนาและกําหนดอนาคตของตนเองว่า “เหล็กสําคัญต่อชาติ แต่คนใน

                  ชาติสําคัญกว่าเหล็ก และการที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองประจวบเป็นเมืองอุตสาหกรรมเหล็ก แท้ที่จริงแล้ว
                  เป็นผลกระโยชน์ต่อกลุ่มทุนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น สิทธิในการกําหนดอนาคตแผ่นดินเกิด เป็นสิทธิที่ติด

                  ตัวเรามาตั้งแต่เกิด มีก่อนรัฐธรรมนูญที่พูดถึงสิทธิชุมชนเสียอีก ชาวประจวบขอยืนยันสิทธิของเราบน

                  แผ่นดินที่เราเกิดจนตาย คนอื่นจะมากําหนดอนาคตแทนเราไม่ได้ การลุกขึ้นมาทวงสิทธิของชาว
                  ประจวบ ยาวนานมาถึง ๑๓ ปี เปลี่ยนไป ๗ รัฐบาล และ ๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว รัฐบาลและ

                  ข้าราชการที่แวะเวียนเป็นขาจรมารับตําแหน่ง เดี๋ยวก็ไปที่อื่นต่อแล้ว ไม่ได้อยู่ถาวร พวกเราชาวประจวบ

                  ถือเป็นขาประจําตัวจริง แล้วอย่างนี้จะให้พวกขาจร มากําหนดอนาคตแทนพวกเราได้อย่างไร” และ
                  ชาวบ้านยังแสดงเจตจํานงและเรียกร้องอย่างชัดเจนที่จะขอมีส่วนร่วมกําหนดอนาคตของตนเองว่า

                  “พวกเราอยู่ในจังหวัดประจวบกันมาหลายชั่วอายุคน ตั้งบ้านเรือนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ไม่ได้อพยพ

                  โยกย้ายไปไหน แล้วทําไมเราจะไม่มีความชอบธรรมที่จะกําหนดทิศทางการพัฒนาบ้านเราเอง เราขอมี
                  ส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางการพัฒนาบ้านของตนเอง”


                                ๒)  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ

                             จากเหตุผลสําคัญที่ชาวบ้านและชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่เอาด้วยกับ

                  โครงการ เพราะเห็นว่าอุตสาหกรรมหนักจะเป็นตัวการสําคัญที่ทําลายอาชีพของชาวบ้านและจะส่งผล
                  ต่อการดํารงชีวิตและความผาสุกของครอบครัวและชุมชน อีกทั้งอุตสาหกรรมเหล็กและโรงไฟฟ้าล้วนใช้

                  ถ่านหินเป็นวัตถุดิบและก่อมลพิษสูงมากทั้งในอากาศและน้ํา นอกจากนี้การเผาไหม้ถ่านหินยังก่อให้เกิด

                  การปนเปื้อนของสารปรอทออกสู่สิ่งแวดล้อม และในบริเวณพื้นที่แม่รําพึง อําเภอบางสะพาน ที่ถูก
                  กําหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร ก็เป็นแหล่งวางไข่ปลาทูหนาแน่น เช่นเดียวกันกับพื้นที่

                  อําเภอทับสะแกที่มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหญ่ที่สุดของเอเชีย ก็เป็นแหล่งวางไข่ปลาทูหนาแน่น
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102