Page 103 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 103
๘๙
ให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเติบโตไปในทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักก็ยังคงดํารงอยู่อย่างชัดเจน
ทั้งนี้เห็นได้จากแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ ๓ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้นําเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๑ ให้ดําเนินการการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจากภาค
ตะวันออกไปที่แห่งใหม่ คือ เซาเทิร์นซีบอร์ด โดยมีอําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่
เป้าหมาย ทั้งนี้จะเริ่มดําเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป เพื่อรอให้มีโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะ
การให้มีศูนย์กลางน้ํามันเป็นแกนนําการพัฒนาเสร็จก่อน พร้อม ๆ กันนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทยก็ได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง แอนด์ แมแนจเมนท์ จํากัด ศึกษาความเหมาะสมการ
จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่ทางเลือกใหม่
ของฐานการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน และอุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ ของประเทศ โดยมี
ระยะเวลาดําเนินโครงการ ๗๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๖๒๐) แบ่งออกเป็นช่วงระยะเวลาเตรียมการก่อสร้าง
(พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๐) และช่วงการพัฒนาโครงการและเปิดให้ดําเนินงาน (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๖๙๐)
สําหรับพื้นที่เหมาะสมในการดําเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
พลังงาน และท่าเรืออุตสาหกรรม ได้เสนอไว้ ๒ ทางเลือก ได้แก่ บริเวณบ้านคอเขา ตําบลทุ่งปรัง อําเภอ
สิชล พื้นที่ ๑๑,๕๐๐ไร่ และบริเวณบ้านคลองดินถึงบ้านปากน้ําปากดวด ตําบลกลาย อําเภอท่าศาลา
พื้นที่ ๑๒,๖๐๐ ไร่ ส่วนประเภทของอุตสาหกรรมที่จะตั้งในพื้นที่ ได้แก่ โรงกลั่นน้ํามัน Condensate
Splitter อุตสาหกรรมโรงแยกก๊าซ (Gas Separation Plant) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรม
ปาล์มน้ํามัน และไบโอดีเซล อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป อุตสาหกรรมแปรรูปยิบซั่ม และกลุ่ม
อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ํามันเครื่องและจารบี
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากก๊าซ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์
พลาสติก ส่วนพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตรที่เน้นการใช้
ทรัพยากรในพื้นที่และพึ่งพาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมและบริเวณพื้นที่โดยรอบ ได้แก่ อุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นปลาย และอื่น ๆ อาทิ สินค้าแปรรูปเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค ชิ้นส่วนและ
ผลิตภัณฑ์ทั่วไป คือ ตําบลแก้วแสน อําเภอนาบอน พื้นที่ ๑,๖๐๐ ไร่ (รูปภาพที่ ๑๔ )