Page 93 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 93
๗๙
ส่งเสริมการลงทุน เครือสหวิริยามีแผนการลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรด้วยโครงการโรงถลุงเหล็ก
ต้นน้ํา กําลังการผลิต ๓๐ ล้านตัน มูลค่าการลงทุนรวม ๕๒๔,๒๐๐ ล้านบาท และตั้งเป้าหมายให้
ประเทศไทยเปลี่ยนจากผู้นําเข้าสินค้าเหล็กเป็นผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ติดอันดับ ๑ ใน ๕ ของโลก
ในปี ๒๕๕๐ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้
ผ่านการอนุมัติให้แก่รายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงถลุงเหล็กสหวิริยา แต่
ชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้านในข้อบกพร่องหลายประเด็นในรายงาน โดยเฉพาะที่ระบุว่าป่าพรุแม่รําพึงเป็น
ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงความถูกต้องของการได้มาของเอกสารสิทธิของโครงการ ฯลฯ จนกระทั่งนําไปสู่
การตรวจสอบกระบวนการการออกเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนในพื้นที่ป่าพรุซึ่งเป็นที่สาธารณะที่ชาวบ้าน
ใช้ประโยชน์ร่วมกันของเครือสหวิริยา ส่งผลให้บริษัทต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนผังที่ดินโครงการโรงถลุงเหล็ก
ระยะที่ ๑ โดยมีการขยับผังโครงการไปทางด้านบนที่ได้จัดซื้อที่ดินใหม่เพิ่มเติม และตัดพื้นที่ดินที่มี
ปัญหาและอยู่ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารสิทธิ จํานวน ๑๗ แปลง ที่
ตําบลแม่รําพึง อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกไปจากผังโครงการโรงถลุงเหล็ก รวมทั้ง
ได้มีการปรับขนาดของพื้นที่โครงการลงจากเดิม ๑,๕๐๐ ไร่ เหลือ ๑,๒๐๐ ไร่ สํานักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีมติให้โครงการจัดทํารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่
และนําเสนอให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาใหม่ ซึ่งหลังจาก
ที่มีการยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ไม่นานเครือสหวิริยา ก็ได้ขอถอนรายงาน
ออกจากการพิจารณาของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อีกสาเหตุสําคัญที่ทําให้ชาวบ้านคัดค้านโครงการ คือ ที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับ
ผลกระทบจากโรงงานเหล็กรีดร้อน รีดเย็น และกิจกรรมที่ต่อเนื่องของบริษัทในเครือสหวิริยา เช่น
ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาเรื่องกลิ่น อุบัติเหตุที่เกิดจากรถบรรทุก และหากมีการเพิ่มขยายโรงงาน
ถลุงเหล็กต้นน้ําเข้ามาในพื้นที่อีก ชาวบ้านกังวลว่าจะทําให้เกิดผลกระทบมากยิ่งขึ้น รวมถึงพื้นที่ชายฝั่ง
ทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีร่องน้ําลึกซึ่งเป็นเส้นทางวางไข่อย่างหนาแน่นของปลาทู การทําพื้นที่
อุตสาหกรรมทับซ้อนกับพื้นที่วางไข่ปลาทูอาจทําให้มีการปนเปื้อนของสารพิษและการลดลงของ
ประชากรปลาทู
การเคลื่อนไหวของชาวบ้านต่อกรณีนี้ นอกจากการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา
ชาวบ้านได้มีการทําจดหมายร้องขอไปยังสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มาดําเนินการสํารวจพื้นที่ป่าพรุแม่รําพึง ซึ่งภายหลัง
จากการสํารวจพบว่าป่าพรุแม่รําพึงมีความสําคัญจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําระดับประเทศ