Page 94 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 94
๘๐
๒) โครงการนิคมอุตสาหกรรมบางสะพาน
โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานนั้น ดําเนินการโดยบริษัท
เครือสหวิริยา จํากัด และบริษัท ประจวบพัฒนา ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด ลักษณะของโครงการเป็นการ
ขอร่วมดําเนินการโครงการกับการนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ตําบลแม่รําพึง และตําบลกําเนิดนพคุณ
อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ประมาณ ๖,๔๐๔ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการประกอบ
อุตสาหกรรมของบริษัทแล้วบางส่วน มาจัดตั้งให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบอุตสาหกรรมเหล็ก
ระดับต้นน้ําและกลางน้ํา ได้แก่ โรงถลุงเหล็กต้นน้ํา การผลิตเหล็กรีดร้อน การผลิตเหล็กรีดเย็น และ
แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี รวมทั้งการผลิตเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย ทั้งนี้คณะกรรมการการนิคม
อุตสาหกรรมแห่งประทศไทยได้มีการให้ความเห็นชอบในหลักการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกัน ในการ
ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๐ แต่เนื่องจากพื้นที่จัดตั้งมีการประกอบ
อุตสาหกรรมบางส่วนแล้ว การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรให้มีการจัดทํารายงานการ
วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมให้แล้วเสร็จก่อน และให้มีการทบทวนรายละเอียด
โครงการ เพื่อจัดทําแผนพัฒนาพื้นที่ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมเหล็กที่มีมาตรฐานระดับสากลและสามารถ
อยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
ชาวบ้านได้มีการทําหนังสือคัดค้านไปยังการนิคมอุตสาหกรรมหลายครั้ง ทั้ง
ประเด็นในเรื่องที่ดินของพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าพรุที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ความถูกต้องของการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิและเป็นคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) รวมถึงมติของ
องค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึงที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและไม่ผ่านการทําประชาคม
หมู่บ้าน และได้นํามาซึ่งการลงพื้นที่ของผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจสอบ
ข้อเท็จจริง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็ได้มีมติ
ยกเลิกโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบางสะพาน
๓) โครงการท่าเรือน้ําลึกบางสะพาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ บริษัท ท่าเรือประจวบ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ
กลุ่มสหวิริยาได้เปิดให้บริการท่าเรือน้ําลึกเอกชนที่มีร่องน้ําลึกที่สุดในประเทศไทย โดยตั้งอยู่ในพื้นที่
อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยเงินลงทุนกว่า ๑๔,๐๐๐ ล้าน อันได้รับการส่งเสริมการ
ลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อให้การบริการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็ก
ของโครงการต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ และให้บริการขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเลและบริการท่าเรือแก่
บุคคลภายนอกด้วย ท่าเรือดังกล่าวประกอบด้วยท่าเทียบเรือ ๒ ท่า คือ ท่าหลัก และท่ารอง โดยท่าหลัก
มีขนาดพื้นที่ตัวท่ากว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๔๕๐ เมตร ระดับน้ําลึก ๑๕ เมตร สามารถจอดเรือขนาด