Page 99 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 99

๘๕







                  เอกสารรายงานการประชุมขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึง สมัยวิสามัญที่ ๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
                  ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ว่ามีมติเห็นชอบต่อการนําพื้นที่ของบริษัทในเครือสหวิริยาทั้งหมดมาจัดตั้งเป็นนิคม

                  อุตสาหกรรม ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตําบลแม่รําพึง ก็ไม่เคยชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้ชาวบ้าน

                  รับทราบเลย

                             จากกรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดว่าชาวบ้านไม่ได้รับการปฏิบัติจากหน่วยงาน

                  ราชการในเรื่องสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๕๗ ที่ระบุไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล
                  ชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการท้องถิ่น ก่อนการ

                  อนุญาตหรือดําเนินโครงการกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย

                  คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนและชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น
                  ของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนําไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว


                                ๔)  สิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

                             ประเด็นสําคัญอีกประการหนึ่งของการคัดค้านโครงการโรงถลุงเหล็กของชาวบ้าน

                  ก็คือ โครงการดังกล่าวจะมีการสร้างอยู่บนพื้นที่บางส่วนของป่าพรุแม่รําพึง ซึ่งในรายงานการประเมิน

                  ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบุว่าเป็นป่าพรุที่มีสภาพเสื่อมโทรม แต่แท้ที่จริงแล้วป่าพรุดังกล่าวยังมีสภาพ
                  ความอุดมสมบูรณ์ และชาวบ้านได้อาศัยในการจับปลาและตัดใบจากไปขาย การเคลื่อนไหวต่อเนื่องมา

                  ในหลายปีที่ผ่านมาของชาวบ้าน ได้นําไปสู่โครงการสํารวจความหลากหลายในพื้นที่ป่าพรุของกระทรวง

                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งมีการขึ้นทะเบียนป่าพรุแม่รําพึงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําระดับชาติ
                  โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๘๗๐ ไร่ ซึ่งมีความกว้างของพรุประมาณ ๓.๑๔ กิโลเมตร ยาว ๒.๑๒ กิโลเมตร

                  จัดอยู่ในประเภทพรุที่ลุ่มหลังสันทรายที่ยังคงได้รับอิทธิพลจากน้ําทะเล และเป็นที่ตั้งของหาดแม่รําพึง

                  อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาทูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ชาวบ้านกังวลว่าหากมีการก่อสร้างโรงงาน
                  แล้วนอกจากผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างบนพื้นที่บางส่วนของป่าพรุแม่รําพึงแล้ว ยังมีผลกระทบ

                  ทางอ้อมที่เกิดจากการถมที่ทั้งหมดของโรงงาน จะทําให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จาก
                  ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์น้ําได้ดั่งเดิม รวมทั้งจะส่งผลต่อแหล่งวางไข่ของปลาทูของประเทศ มีผลต่อสิทธิ

                  ของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล

                  และยั่งยืน ตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๖ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                                ๕)  สิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น


                             การดําเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานนั้น การนิคมอุตสาหกรรม
                  แห่งประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานอนุมัติ ไม่ได้จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดง

                  ความคิดเห็นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนในการจัดตั้งนิคม
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104