Page 102 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 102

๘๘







                  น่าจะสูงมากกว่านี้ จึงเสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมเรื่องเศรษฐกิจชุมชนประมงชายฝั่งทั้ง
                  ๔๘ หมู่บ้าน รวมทั้งเศรษฐกิจของชาวประมงจากจังหวัดอื่น ๆ ที่มาหากินจับสัตว์ทะเลในน่านน้ําพื้นที่

                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                                ๕)  สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการและดูแล

                  ทรัพยากรธรรมชาติ การทํางานของหน่วยงานรัฐในพื้นที่กับภาคประชาชน ต้องช่วยกันพัฒนาบน

                  หลักการสิทธิชุมชน และการบริหารการจัดการสังคมที่โอนภารกิจและถ่ายเทกระจายอํานาจลงสู่ชุมชน
                  ท้องถิ่น โดยเฉพาะในเรื่องของประมงพื้นบ้านและการดูแลรักษาชายฝั่งทะเล ทั้งในการจัดทําข้อบัญญัติ

                  ท้องถิ่นและอาสาสมัครประมงที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจในการจับกุมความผิดในเรื่องการทํา

                  ประมง ฯลฯ และการพัฒนาพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในอําเภอทับสะแกที่ต้องให้
                  ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้พื้นที่


                                สรุปได้ว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศและภูมิศาสตร์เกี่ยวข้องกับ
                  ภาคการเกษตรและประมง ในปัจจุบันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีการพัฒนาของหลายหน่วยงาน ทั้ง

                  หน่วยงานรัฐในพื้นที่ ส่วนกลางและภาคเอกชน ซึ่งต้องทําให้เกิดการพัฒนาเชิงนโยบายของจังหวัดอันจะ

                  นําไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน โดยที่แผนและนโยบายหลักของการพัฒนานั้นให้อยู่บนพื้นฐานของ
                  การที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗

                  คือ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานส่วนกลางระดับท้องถิ่นนั้น ต้องให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการ

                  พัฒนาระดับภาคและระดับท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดในการนําร่องเรื่องการประสาน
                  การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลางและส่วนพื้นที่ในการจัดทํายุทธศาสตร์จังหวัดที่เน้นการมี

                  ส่วนร่วมของภาคประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ ที่

                  เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ที่เป็นความชอบธรรมตามกฎหมาย อํานาจทางการเมืองหรือสิทธิ
                  ประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะมาบอกว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะเป็นโครงการใดก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง




                  ๕.๒  กรณีศึกษาจากกรณีร้องเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช


                         ๕.๒.๑  นครศรีธรรมราช ศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน

                                ภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช

                  ได้ถูกกําหนดให้เป็นเมืองศูนย์กลางของการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน โดยเป็นส่วน

                  เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยของสะพานเศรษฐกิจยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Land Bridge, SELB)
                  ที่มีพื้นที่อําเภอทับละมุ จังหวัดพังงาเป็นประตูออกสู่อันดามัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยน

                  เส้นทางสะพานเศรษฐกิจไปเป็นแนวสงขลา-สตูลแล้ว แต่นโยบายทั้งของภาครัฐและเอกชนที่จะผลักดัน
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107