Page 92 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 92
๗๘
โรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก กําลังการผลิต ๔,๐๐๐ เมกะวัตต์ ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก
และบ้านกรูดได้ยุติโครงการไปแล้ว เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยและร่วมกันคัดค้าน
บริษัทเอกชนเจ้าของโครงการจึงได้ย้ายโครงการไปดําเนินการในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและราชบุรีแทน
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าของโครงการ และ
ถึงแม้ว่าได้มีการชะลอและระงับโครงการแล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังไม่ไว้วางใจเนื่องจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทยได้มีการซื้อที่ดินเพื่อเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าไว้แล้วเป็นจํานวน ๔,๑๔๒ ไร่ รวมทั้งยังมี
ความพยายามของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่จะเข้ามาดําเนินโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว
อยู่ตลอดเวลา
๒) โครงการอ่างเก็บน้ําและการวางระบบท่อส่งน้ํา ประกอบด้วย (๑) โครงการ
ก่อสร้างอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ๕ แห่ง ขนาดความจุแห่งละ ๑๕ ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้มีการบรรจุ
โครงการทั้งหมดไว้ในแผนการพัฒนาลุ่มน้ําในพื้นที่อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของ
กรมชลประทาน (๒) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําท่าแซะ จังหวัดชุมพร ของกรมชลประทาน เป็น
โครงการเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่อ่างเก็บน้ํา ๙,๘๐๐ ไร่ งบประมาณ ๓,๔๐๐ ล้านบาท ซึ่งรายงาน
การศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้รับการผ่านความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แต่ปัจจุบันโครงการยังไม่ได้ก่อสร้าง เนื่อง
ด้วยมีประชาชนร่วมกันคัดค้านเป็นจํานวนมาก (๓) โครงการวางท่อส่งน้ําจากอ่างเก็บน้ําท่าแซะมายัง
พื้นที่อุตสาหกรรมอําเภอบางสะพาน ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร งบประมาณ ๒,๑๐๐ ล้านบาท โดย
กรมโยธาธิการและผังเมือง ปัจจุบันยังไม่ได้ดําเนินการเพราะยังไม่สามารถก่อสร้างอ่างเก็บน้ําท่าแซะได้
๕.๑.๒ สถานการณ์กรณีร้องเรียนและโครงการพัฒนาภาคใต้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จากยุทธศาสตร์แผนงานดังกล่าวข้างต้น ทําให้เกิดการผลักดันสนับสนุนโครงการ
เหล่านี้จากทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโรงถลุงเหล็ก โรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ําลึก และนิคม
อุตสาหกรรม ลงสู่พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนําไปสู่การร้องเรียนของประชาชนต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งสรุปสถานการณ์และประเด็นการละเมิดสิทธิของแต่ละโครงการจากเอกสาร
การร้องเรียนและการประชุมตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงการจัดสนทนา
กลุ่มเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ดังนี้
๑) โครงการโรงถลุงเหล็ก อําเภอบางสะพาน
กลุ่มทุนอุตสาหกรรมเหล็กของบริษัทในเครือสหวิริยา ได้เข้ามาลงทุนในพื้นที่
อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ โดยได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการ