Page 66 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 66
๖.๔) ข้อมูลจากนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน
และการเมืองได้รายงานว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงมักเป็นต้นตอของ
การข่มขู่และทำาร้ายผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้
ก็อาจข่มขู่บุคคลกลุ่มนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การหายตัวไปของนายทนง
โพธิ์อ่าน วุฒิสภาสายแรงงาน (พ.ศ.๒๕๓๔) และทนายสมชาย นีละไพจิตร
(พ.ศ.๒๕๔๗) ดังที่กล่าวไว้แล้ว ๔๙
๒.๒.๒ แนวทางอนุวัติกฎหมายภายในของประเทศไทย : การ
รับฟังความเห็นจากหน่วยงานของรัฐ นักวิชาการ และภาคประชาชน
คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลและความเห็นเรื่องการอนุวัติ
กฎหมายภายในตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ จากหน่วยงานของ
รัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคประชาชน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖ และวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ตามลำาดับ มีสาระสำาคัญโดยสรุป คือ
๑) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เห็นควร
มีกฎหมายใหม่โดยเฉพาะ เพื่อรองรับการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหายฯ ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๗ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา
๒) กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่า ประเทศไทยยังไม่ได้เป็น
ภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับ
ให้สูญหาย จึงอาจเสนอกฎหมายใหม่ในการอนุวัติกฎหมายภายใน ซึ่ง
สามารถบรรจุรายละเอียดและกระบวนการตามอนุสัญญาฯ ได้ครบถ้วน
การกำาหนดไว้เป็นฐานความผิดในประมวลกฎหมายอาญาอาจไม่เพียงพอ
๔๙ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า ๓๕ – ๓๖.
64 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย