Page 71 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 71
๓.๒) การอนุวัติกฎหมายภายใน ได้มีกฎหมายคุ้มครองพยาน
ในคดีที่บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย พยานประกอบด้วยญาติ ทนายความ
แพทย์นิติเวช เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง
๔) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย) ได้ออก
พระราชบัญญัติต่อต้านการบังคับให้สูญหายหรือการสูญหายโดย
ไม่สมัครใจ ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) (Anti – Enforced or Involuntary
Disappearances Act of 2012) ประกอบด้วยคำานิยามการบังคับ
ให้บุคคลสูญหาย หรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจซึ่งสอดคล้องตาม
อนุสัญญาระหว่างประเทศนี้ การห้ามคุมขังในที่ลับ การเก็บทะเบียนหรือ
ประวัติของผู้ที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ การมอบหมายให้คณะกรรมการของ
รัฐบาลด้านสิทธิมนุษยชน (Governmental Committee on Human
Rights) ตรวจเยี่ยมสถานคุมขังได้ ๕๕
๕) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย) ได้ออก
พระราชบัญญัติหมายเลข ๒๖/๒๐๐๐ ว่าด้วยศาลสิทธิมนุษยชน กำาหนด
ให้ความผิดฐานบังคับให้สูญหายอยู่ในอำานาจการพิจารณาของศาล
ดังกล่าว ๕๖
๕๕ Human Rights Watch, www.hrw.org/news/2012/12/21/philippines-milestone-law-criminalize-
forced-disappearance
๕๖ การประชุมเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 69
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย