Page 64 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 64
“สงครามปราบปรามยาเสพติด” ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ระหว่างเดือน พฤษภาคม
ถึง ธันวาคม ๒๕๔๖ มีรายงานว่าชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่ถูกเจ้าหน้าที่ทหาร
และทหารพรานควบคุมตัวโดยพลการ ถูกทรมาน ถูกสังหารนอก
๔๔
กระบวนการกฎหมายและและบางคนถูกบังคับให้สูญหาย นอกจากนี้
จากรายงานของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ วิธีการที่เจ้าหน้าที่ทหาร
หรือเจ้าพนักงานของรัฐใช้ คือ การไปจับกุมตัวคนจากหมู่บ้านหรือที่ทำางาน
(ไร่นา) แล้วนำามาควบคุมตัวในค่ายทหาร ระยะเวลาควบคุมตัว คือ
๔๕ - ๙๐ วัน ช่วง ๗ วันแรก ควบคุมตัวในหลุมลึก ๒ เมตร จากนั้น
ควบคุมตัวในอาคาร ระหว่างควบคุมใช้วิธีทรมานหลายรูปแบบ เช่น
ช็อตด้วยไฟฟ้า ตีด้วยกระบอง เพื่อให้รับสารภาพ ซึ่งส่งผลให้ผู้ถูก
ควบคุมตัวบางคนเสียชีวิตได้
๖) คนกลุ่มอื่นที่เสี่ยงต่อการถูกบังคับให้เป็นบุคคลสูญหาย ได้แก่
๖.๑) คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีความขัดแย้งส่วนตัว
กับตำารวจ ตัวอย่างเช่น เดือนมกราคม ๒๕๔๙ จังหวัดเชียงใหม่ นายพิชิต
จะอื่อ นายจะก๊ะ จะอื่อ (สายตำารวจ) นายจะก่า จะอื่อ น.ส.นาสี จะอื่อ
และนายจะแต จะหา ถูกจับกุมระหว่างไปตลาด วันรุ่งขึ้นมีข่าวว่า
หน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติดได้สั่งการให้ทหารและตำารวจ
สนธิกำาลังปราบปรามยาเสพติดและมีการกล่าวหาว่าพ่อค้ายา (นายพิชิตฯ
นายจะก๊ะฯ) ต่อสู้เจ้าหน้าที่และถูกยิงเสียชีวิต แต่สภาพศพของทั้งสอง
คนคือถูกใส่กุญแจมือ เมื่อญาติถามถึงสถานที่ควบคุมตัวของอีกสามคน
๔๕
ที่เหลือซึ่งเป็นเยาวชน ก็ได้รับคำาตอบไม่ชัดเจน เดือนกรกฎาคม
๔๔ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕, หน้า ๒๕.
๔๕ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๓๑.
62 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย