Page 63 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 63
ในจังหวัดชายแดนใต้ ทำาให้การปราบปรามของรัฐไม่เป็นไปตามหลักการ
คุ้มครองและหลักนิติธรรม ข้อกำาหนดว่าด้วยการควบคุมตัวตามกฎหมาย
ดังกล่าวเปิดโอกาสให้เกิดการบังคับบุคคลให้สูญหาย เช่น กฎอัยการศึก
เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้ ๗ วัน โดยไม่ต้องมีหมายศาล
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ สามารถ
ควบคุมตัวได้โดยมีหมายศาล รวม ๓๐ วัน และพระราชบัญญัติการรักษา
ความมั่นคงฯ รวมกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถ
ควบคุมตัวได้รวม ๘๔ วัน
๔.๒) การให้ผู้ต้องสงสัยมาแสดงตน เช่น เชิญมาพบ หรือ
มารายงานตัวที่ค่ายทหาร โดยแบ่งผู้ต้องสงสัยเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่ม
ที่มีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีสิทธิขอ
ประกันตัวและเข้าถึงทนายความได้ มีการติดตามความเคลื่อนไหวหลัง
ปล่อยตัว กลุ่มที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ จะถูกบังคับให้
เข้าอบรม ๑ เดือน และมีการเฝ้าระวังหลังการอบรม กลุ่มที่สนับสนุน
หรือฝักใฝ่ฝ่ายก่อความไม่สงบ (มีชื่อในบัญชีดำา) แต่ไม่ได้กระทำาผิดอาญา
และไม่มีหมายจับ จะถูกควบคุมตัวให้เข้ารับการอบรม ๗ - ๑๐ วัน
๔.๓) การใช้กำาลังทหารในการตอบโต้กับการก่อความไม่สงบ
เช่น การเพิ่มกำาลังทหารในพื้นที่ การจัดให้มีอาสาสมัครฝ่ายพลเรือน
การจัดให้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และอาสาสมัครรักษา
หมู่บ้าน (อรบ.) โดย ชรบ. หรือ อรบ. ที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ผู้ก่อความไม่สงบ และที่เป็น “สายข่าว” ให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งทราบการปฏิบัติ
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ มีโอกาสถูกบังคับให้สูญหาย
๕) ประเทศไทยใช้นโยบายปราบปรามอย่างรุนแรงต่อความผิด
ด้านยาเสพติดมาโดยตลอด และเข้มงวดมากยิ่งขึ้นเมื่อประกาศใช้นโยบาย
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 61
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย