Page 61 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 61
๑.๒) คำาร้องที่ ๑๒๗/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๕
จังหวัดยะลา สามีของผู้ร้องและเพื่อนอีก ๒ คน เป็นสายให้ตำารวจ
ถูกกล่าวหาว่ายิงตำารวจ จึงนั่งรถจักรยานยนต์ไปกับเพื่อนคนหนึ่ง
และอีกคนขับรถตามไป วันรุ่งขึ้นได้รับทราบจากเพื่อนของสามีที่ขับรถ
ตามไปว่าสามีของผู้ร้องและเพื่อนที่นั่งรถจักรยานยนต์ไปด้วยกันหายไป
ต่อมา เพื่อนที่ขับรถตามไปถูกยิงเสียชีวิต
๑.๓) คำาร้องที่ ๖๖๖/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
จังหวัดยะลา สามีของผู้ร้อง ถูกเจ้าหน้าที่ทหารพราน ๕๐ คน จับกุมไป
จากบ้านพัก พร้อมยึดรถยนต์กระบะ ๑ คน ปืนสั้นออโตเมติก ๑ กระบอก
โทรศัพท์มือถือ ๑ เครื่อง โดยเจ้าหน้าที่ทหารแจ้งว่านำาตัวไปสอบสวนที่
ค่ายทหาร โรงเรียนบันนังสตาอินทรฉัตร แล้วหายตัวไป ผู้ร้องได้ไป
สอบถามที่ค่ายดังกล่าวและค่ายอื่นในจังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานี
ก็ไม่พบ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าปล่อยตัวไปแล้ว แต่ไม่ให้ผู้ร้องดูเอกสารการ
ปล่อยตัว
๒) เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ นายสมชาย นีละไพจิตร
ทนายความสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความ
มั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้หายตัวไป ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยอมรับว่านายสมชาย นีละไพจิตรเสียชีวิตแล้ว
และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีการหายตัวไปของนายสมชายฯ ไว้
เป็นคดีพิเศษตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ปัจจุบันไม่มีความคืบหน้า
ในเรื่องนี้
๓) จากการศึกษาของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพอธิบายว่า
ประเทศไทยมีข้อมูลการบังคับให้บุคคลสูญหายตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๐
โดยเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕ นายเตียง ศิริขันธ์ ผู้เป็นแนวร่วมกับ
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 59
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย