Page 59 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 59
๒
ส่วนที่ การเตรียมรองรับการดำาเนินการตามอนุสัญญา
ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูก
บังคับให้สูญหาย (International Convention on the Protection
of Persons from Enforced Disappearances : CED)
๒.๑ ความเป็นมา
๒.๑.๑ ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่า
ด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (CED) เมื่อวันที่ ๙
มกราคม ๒๕๕๕ และไทยได้ยอมรับข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR
ที่จะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับนี้โดยเร็ว ซึ่งขณะนี้กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายภายใน
ก่อนดำาเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวต่อไป
๒.๑.๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้
ถูกบังคับให้สูญหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับและต่อสู้กับการไม่นำาตัวผู้กระทำาผิดดังกล่าวมาลงโทษ
โดยให้ถือว่า การกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับเป็น
อาชญากรรม และให้นิยาม “การหายสาบสูญโดยถูกบังคับ” ว่า คือ
การจับกุม กักขัง ลักพาตัว หรือการกระทำาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ที่เป็น
การลิดรอนเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง
ดำาเนินการโดยได้รับอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยาย
ของรัฐ ตามมาด้วยการปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนเสรีภาพ หรือ
การปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่หายสาบสูญ ซึ่งส่งผลให้
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 57
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย