Page 60 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 60
บุคคลดังกล่าวตกอยู่ในภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย นอกจากนี้
รัฐภาคีต้องดำาเนินมาตรการจำาเป็นเพื่อประกันว่าการหายสาบสูญเป็น
ความผิดภายใต้กฎหมายอาญาของตน การกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับ ซึ่งดำาเนินการอย่างกว้างขวางหรือเป็นระบบถือเป็น
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามนิยามภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามที่นิยามภายใต้กฎหมาย
ระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ และจะต้องนำามาซึ่งผลลัพธ์ตามที่กำาหนด
๓๙
ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้บังคับดังกล่าว
๒.๒ ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๒.๒.๑ คำาร้องและข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย
๑) ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ (ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๖)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับคำาร้องเกี่ยวกับบุคคลที่
ถูกบังคับให้สูญหาย จำานวน ๑๑ คำาร้อง เป็นคำาร้องซึ่งเกิดขึ้นในภาคอื่น
๑ คำาร้อง คำาร้องที่เกิดขึ้นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำานวน ๙ คำาร้อง
๔๐
อีกหนึ่งคำาร้องไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ ตัวอย่างคำาร้องที่อยู่ในข่ายบุคคล
หายสาบสูญโดยถูกบังคับให้สูญหาย เช่น
๑.๑) คำาร้องที่ ๑๒๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๗
จังหวัดปัตตานี สามีของผู้ร้องและเพื่อนอีก ๒ คน ถูกกลุ่มบุคคลแต่งกาย
คล้ายทหารหรือตำารวจกว่า ๑๐ คน พร้อมอาวุธ จับกุมตัวโดยบอกว่าจะ
นำาไปสอบสวนแล้วส่งกลับ แต่ไม่ได้กลับมาอีกเลย
๓๙ อนุสัญญาระหว่างประเทศ CED อารัมภบท ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕
๔๐ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำานักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, รายงานวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับ
คำาร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้อนุสัญญา CAT และอนุสัญญาระหว่างประเทศ CED, พ.ศ. ๒๕๕๖,
58 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย