Page 58 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 58
๑.๒.๔ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย
และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน
ปัจจุบันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย
คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาค
ของบุคคล คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
และคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำาเนินการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังประเภท
ต่างๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศเป็นระยะๆ อยู่แล้ว ดังนั้น หากรัฐบาล
จะพิจารณามอบหมายให้ กสม. ทำาหน้าที่เป็นกลไกป้องกันระดับชาติตาม
พิธีสารเลือกรับฯ (NPM) รัฐบาลต้องพิจารณาให้ กสม. มีอำานาจหน้าที่
ตามที่กำาหนดไว้ในพิธีสารเลือกรับฯ โดยอาจบัญญัติเพิ่มเติมไว้ใน
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ....
ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การนิยามคำาว่า “สถานที่ลิดรอนเสรีภาพ” และอำานาจการตรวจเยี่ยม
โดยไม่จำาต้องบอกกล่าวล่วงหน้า (Unannounced Visit) รวมถึง
รัฐบาลต้องพิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่จำาเป็น ทั้งในแง่บุคลากรและ
งบประมาณอย่างเพียงพอแก่ กสม. เพื่อให้สามารถดำาเนินงานในฐานะ
กลไกระดับชาติตามพิธีสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รัฐบาล
ยังจำาเป็นต้องทบทวนกฎหมายภายใน รวมถึงระเบียบของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้กลไกป้องกันระดับชาติสามารถดำาเนินการ
ตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังในประเทศทุกประเภทได้อย่างสอดคล้อง
กับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
56 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย