Page 44 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 44
รายละเอียดตามอนุสัญญาฯ ได้ครบถ้วน การแก้ไขประมวลกฎหมาย
อาญา ซึ่งมีตำารวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย อาจไม่สามารถบังคับได้จริง
หรือไม่อาจอธิบายให้สังคมหายเคลือบแคลงเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคล
จากถูกกระทำาทรมานและถูกบังคับให้สูญหายได้ เนื่องจากผู้กระทำาผิด
ส่วนใหญ่ ได้แก่ ตำารวจและพนักงานสอบสวน การที่ให้ตำารวจเป็น
ผู้สอบสวน จึงไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรม
และไม่อาจคุ้มครองผู้ถูกกระทำาทรมานได้แท้จริง
๒) การอนุวัติกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมานฯ นี้ คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าควรบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ และเป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ แต่หากต้องใช้การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่ออนุวัติตามอนุสัญญานี้
การแก้ไขนั้นต้องครอบคลุมทุกประเด็นตามอนุสัญญาฯ และเมื่อมีมูลเหตุ
เชื่อได้ว่ามีกระทำาทรมานเกิดขึ้นต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุล โดยให้
พนักงานอัยการมีบทบาทหลักในการสืบสวน สอบสวน รวมทั้งมีกฎหมาย
รองรับว่า ผู้ถูกทำาร้ายจากการทรมานจะได้รับการชดใช้ทดแทน มีสิทธิ
บังคับคดีขอค่าสินไหมทดแทน และได้รับการบำาบัดฟื้นฟู
๓) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม ควรให้ความสำาคัญ
ต่อการคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลจากการถูกกระทำาด้วยการทรมาน
รวมทั้งควรให้มีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะการจัดทำาข้อเสนอ
ให้มีหน่วยงานดังกล่าวควรอยู่บนฐานการศึกษาวิจัย หลักการด้านสิทธิ
มนุษยชน ประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ โดยเปรียบเทียบกับแนวทางอื่น
๔) ข้อเสนอของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและ
คณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทน-
42 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย