Page 49 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 49
ผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกัน ทำาให้เด็กถูกทำาทะเบียนประวัติอาชญากร เด็กใน
สถานกักตัวฯ ไม่อาจเข้าถึงการศึกษาไม่ได้รับการดูแลสวัสดิการตาม
มาตรฐานไม่มีหลักประกันความปลอดภัยเมื่อผลักดันเด็กกลับประเทศ
ภูมิลำาเนา
๒) ความคืบหน้าในการพิจารณาเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ
ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) ของประเทศไทย
- เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับสมาคมเพื่อป้องกันการทรมาน
(Association for the Prevention of Torture : APT) ได้จัดสัมมนาว่าด้วย
เรื่องพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ในการสัมมนา
ดังกล่าว หลายฝ่ายเห็นว่า เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสาร
เลือกรับดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรเป็นหน่วยงานในการทำาหน้าที่
เป็นกลไกการป้องกันระดับชาติ (National Preventive Mechanism
: NPM) ตามที่กำาหนดไว้ในพิธีสารฯ
๓) กรณีศึกษาของต่างประเทศ
๓.๑) รูปแบบการให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำาหน้าที่
เป็นกลไกป้องกันระดับชาติ ในประเทศต่างๆ มี ๓ รูปแบบ คือ
๓.๑.๑) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกป้องกัน
ระดับชาติองค์กรเดี่ยว เช่น คอสตาริกา มาลี มอริเชียส มัลดีฟส์ แอลเบเนีย
อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย และโปแลนด์
๓.๑.๒) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกป้องกัน
ระดับชาติร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม เช่น สโลวีเนีย
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 47
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย