Page 48 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 48
ผู้ต้องขังหญิงสามารถเข้าถึงและได้รับอาหารและเครื่องใช้ แต่ยังมีความ
แตกต่างกันระหว่างผู้มีเงินและไม่มีเงิน นอกจากนี้ พบว่าผู้ต้องขังหญิง
้
สามารถเข้าถึงการอาบนำาได้จำากัด
๑.๒.๒) ด้านการติดต่อกับภายนอกและการเข้าเยี่ยม
พบว่า เรือนจำาและสถานคุมขังในงานวิจัยฯ จัดให้นักโทษชายและ
ผู้ต้องขังหญิงติดต่อกับภายนอกได้ เช่น ทางจดหมาย หรือจัดสถานที่
และช่วงเวลาให้พบญาติ โดยเรือนจำาบางขวางอนุญาตให้นักโทษชาย
พบญาติได้สัปดาห์ละ ๒ วัน ๔๕ นาที/ครั้ง ซึ่งใกล้เคียงกับมาตรการที่
กำาหนดในกฎหมายในประเทศ ขณะที่ผู้ต้องขังหญิงถูกจำากัดมากกว่า
เช่น ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการส่ง - รับจดหมายของตนได้
๑.๒.๓) ด้านบริการทางการแพทย์ พบว่าเรือนจำาและ
สถานคุมขังในงานวิจัยฯ มีแพทย์ไม่เพียงพอต่อการให้การรักษาพยาบาล
ผู้ต้องขัง และไม่มีแพทย์ด้านจิตเวช ขณะที่มีความต้องการรับการปรึกษา
และเยียวยาด้านจิตจำานวนมาก รวมทั้งไม่มีมาตรการใดเพื่อให้ความ
ช่วยเหลือดังกล่าว
๑.๓) งานศึกษาเรื่อง การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์
ของเด็กในสถานกักตัวคนต่างด้าว สำานักงานตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู
๓๒
กรุงเทพฯ พบว่าเด็กถูกแยกจากบิดามารดาซึ่งกำาหนดให้แยกผู้ต้องกัก
ชายและหญิง ต้องอยู่ร่วมกับผู้ต้องกักที่เป็นผู้ใหญ่ ห้องกักมีสภาพแออัด
และไม่ถูกสุขลักษณะทำาให้เด็กหลายคนเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคผิวหนัง
โรคทางเดินหายใจ มีภาวะทุพโภชนาการ มีระบบรับตัวผู้ต้องกักเด็กและ
๓๒ สุรพงษ์ กองจันทึก และคณะ, การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กในสถานกักตัวคนต่างด้าว สำานักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู, สนับสนุนโดย Save the Children UK, มปป., มปท. หน้า ๓ – ๕.
46 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย