Page 45 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 45
ราษฎรซึ่งอนุวัติกฎหมายภายในโดยวิธีแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังไม่ครอบคลุมหลักเกณฑ์
ที่กำาหนดในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เช่น ร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการฯ
ไม่ครอบคลุมนิยาม “การทรมาน” ตามข้อ ๑ ของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ บางประการ และไม่ครอบคลุมการกระทำาอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือการประติบัติ หรือการลงโทษที่ยำายีศักดิ์ศรีตาม
ข้อ ๑๖ ของอนุสัญญาฯ ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
และคณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้รับรองไว้ชัดเจนว่าผู้ถูกทำาร้ายจากการกระทำา
ทรมานจะได้รับการชดใช้ทดแทน ทั้งไม่มีระบบถ่วงดุลโดยพนักงานอัยการ
๕) เนื่องจากผู้กระทำาผิดฐานกระทำาทรมานหรือผู้เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ตำารวจ จึงเห็นว่า พนักงานอัยการควรเป็นผู้มี
อำานาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน รวบรวมกลั่นกรองพยานหลักฐาน
ต่างๆ และมีดุลพินิจในการดำาเนินการในชั้นไต่สวน กรณีความผิดฐาน
กระทำาทรมานตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๙๐/๑ อันทำาให้
การไต่สวนมีการถ่วงดุล เป็นอิสระ และเที่ยงธรรม ทั้งพนักงานอัยการ
ยังรับผิดชอบการยื่นคำาร้องดำาเนินการไต่สวนในศาลโดยตรงอีกด้วย
๖) คณะรัฐมนตรีควรทบทวนการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้าน
ความมั่นคงให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งกำาหนดว่า
ไม่มีพฤติการณ์พิเศษใด ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงคราม หรือสภาพคุกคามที่จะ
เกิดสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ หรือสภาวะ
ฉุกเฉินสาธารณะอื่นใดที่ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลสำาหรับทรมานได้
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 43
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย