Page 90 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 90
ถือเป็นการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์
ซึ่งประเทศไทยได้ออกเสียงสนับสนุนต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น
ประเทศไทยจึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อเป็นการแสดงถึงการปฏิบัติตามปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเป็นการแสดงออกถึงการให้ความสำาคัญต่อการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน
ของประชาชนในประเทศเป็นสำาคัญ
๒.๔.๒ พิธีส�รเลือกรับกติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิท�งก�รเมือง (International Covenant on Civil and
Political Rights : ICCPR)
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๙ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
๒๓ มีนาคม ๒๕๑๙ โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ประกอบด้วย
วรรคอารัมภบทและบทบัญญัติ ๕๓ ข้อและแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๙ โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐
กติกาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการมีชีวิต คือ
ข้อ ๓ รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี
ในการที่จะอุปโภคสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองทั้งปวงดังที่ได้ระบุไว้ในกติกานี้
ข้อ ๕ ไม่มีความใดในกติกานี้ที่อาจนำาไปตีความไปในทางที่จะให้รัฐใด กลุ่ม หรือ
บุคคลใดได้สิทธิที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หรือกระทำาการใดอันมีจุดมุ่งหมายในการทำาลายสิทธิ
และเสรีภาพประการใดที่รับรองไว้ในกติกานี้ หรือเป็นการจำากัดสิทธินั้นยิ่งไปกว่าที่ได้บัญญัติไว้
ในกติกานี้
จะต้องไม่มีการจำากัดหรือเลี่ยงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรอง หรืออาจ
มีอยู่ในรัฐภาคีใดในกติกานี้ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย อนุสัญญา กฎระเบียบ หรือจารีตประเพณี
โดยอ้างว่ากติกานี้ไม่รับรองสิทธิที่ว่าเช่นนั้น หรือรับรองสิทธินั้นในระดับที่ด้อยกว่า
ข้อ ๖ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำาเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครอง
โดยกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกทำาให้เสียชีวิตโดยอำาเภอใจ
ในประเทศที่ยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจจะ
กระทำาได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุดตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำาความผิด และไม่ขัดต่อ
บทบัญญัติแห่งกติกานี้ และต่ออนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมทำาลายล้าง
เผ่าพันธุ์ การลงโทษเช่นว่านี้จะกระทำาได้ก็แต่โดยคำาพิพากษาถึงที่สุดของศาลที่มีอำานาจ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 77