Page 87 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 87
ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต เนื่องจากการใช้โทษประหารชีวิตอาจไม่ใช่เป็นวิธีการในการตัดโอกาส
ในการกระทำาผิดของอาชญากรที่มีความเหมาะสมแต่เพียงประการเดียว เนื่องจากสามารถใช้โทษ
จำาคุกตลอดชีวิต หรือการจำาคุกเป็นระยะเวลานานสำาหรับผู้กระทำาผิดที่มีลักษณะความเป็นอาชญากร
โดยกมลสันดานที่ไม่สามารถแก้ไขฟื้นฟูได้ เนื่องจากการตัดโอกาสการกระทำาผิดด้วยการจำาคุก
นอกจากจะเป็นการลงโทษเพื่อตัดโอกาสการกระทำาผิดของอาชญากรแล้ว ยังสามารถทำาให้
อาชญากรมีโอกาสในการสำานึกผิด หรือการบำาบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด รวมทั้งหากมีความ
ผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้น ยังสามารถแก้ไขได้ เพราะไม่ใช่เป็นการทำาลายชีวิต
ของผู้กระทำาผิดแต่ประการใด
๔) ก�รลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation)
ปัจจุบันการลงโทษผู้กระทำาผิดจะเน้นการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู เนื่องจากมีความเชื่อ
ตามแนวคิดของสำานักปฏิฐานนิยม (Positive School) ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเปรียบเสมือน
ผ้าขาวที่บริสุทธิ์ หากแต่สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำาคัญที่ทำาให้บุคคลในสังคมต้องกระทำาผิด
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่กระทำาผิดหรืออาชญากรเปรียบเสมือนเป็นผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความบกพร่อง
ที่ทำาให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองจนกระทั่งต้องกระทำาผิด
แนวความคิดของสำานักปฏิฐานนิยมมีสมมติฐานเกี่ยวกับสาเหตุอาชญากรรมที่สำาคัญ
๒ ประการ คือ พฤติกรรมของมนุษย์มีสาเหตุมาจากแรงกดดันหรือปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม
ของมนุษย์ (Criminal Behavior as Caused) และปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอาชญากรรม
จะแตกต่างจากปัจจัยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมตามกฎหมาย โดยปัจจัยที่ทำาให้เกิดอาชญากรรม
ประกอบด้วย ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางจิต และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายนอก (Adler, 1991)
สำาหรับปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการกระทำาผิด ประกอบด้วยปัจจัย
สภาพแวดล้อมระดับมหภาคและระดับจุลภาค ได้แก่
• ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
• ปัจจัยทางด้านครอบครัว สถาบันการศึกษา การคบเพื่อน ที่อยู่อาศัย การคบเพื่อน
สื่อ อาชีพ อบายมุข ศาสนา
• ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจ
ซึ่งจากสภาพแวดล้อมทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคดังกล่าวข้างต้นเป็นปัจจัย
ที่หล่อหลอมทำาให้บุคคลในสังคมมีบุคลิกภาพที่อ่อนแอ จนกระทั่งไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม
การกระทำาผิดได้ เช่นเดียวกับนักโทษประหารที่กระทำาผิดจนกระทั่งต้องโทษประหารชีวิต เนื่องจาก
อาจได้รับความกดดันจากสภาพแวดล้อม หรือได้รับการหล่อหลอมบุคลิกภาพและสภาพจิตใจจาก
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง จนกระทั่งทำาให้นักโทษประหารมีบุคลิกภาพที่อ่อนแอ ไม่สามารถควบคุม
พฤติกรรมการกระทำาผิดของตนเองได้ โดยในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศ
ที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำาคัญต่อแนวคิดด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด เนื่องจากมีความเชื่อว่า
ผู้กระทำาผิดต้องกระทำาผิดเพราะถูกสภาพแวดล้อมกดดันดังกล่าวข้างต้น ซึ่งหากผู้กระทำาผิดได้รับ
74 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ