Page 91 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 91

ในกรณีที่การทำาให้เสียชีวิตมีลักษณะเป็นอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์  ย่อมเป็น
                  ที่เข้าใจว่าข้อนี้มิได้ให้อำานาจรัฐภาคีใดแห่งกติกานี้ในอันที่จะเลี่ยงจากพันธกรณีใดที่มีตามบทบัญญัติ

                  แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมทำาลายล้างเผ่าพันธุ์

                                  บุคคลใดต้องคำาพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษหรือลดหย่อนผ่อน
                  โทษตามคำาพิพากษาการนิรโทษกรรม การอภัยโทษตามคำาพิพากษาประหารชีวิตอาจให้ได้ในทุกกรณี
                                  บุคคลอายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี  ที่จะกระทำาความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้

                  และจะดำาเนินการประหารชีวิตสตรีขณะมีครรภ์ไม่ได้

                                  รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้จะยกเว้นข้อนี้เพื่ออ้างประวิง  หรือขัดขวางการยกเลิก
                  โทษประหารชีวิตไม่ได้
                                  ข้อ ๗ บุคคลจะถูกทรมาน  หรือได้รับการปฏิบัติ  หรือการลงโทษที่โหดร้าย

                  ไร้มนุษยธรรม  หรือต่ำาช้ามิได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์

                  หรือทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้
                                  ข้อ ๙ บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกายบุคคล
                  จะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำาเภอใจไม่ได้ บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้น โดยเหตุ

                  และโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

                                  จากการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
                  และสิทธิทางการเมือง โดยข้อกำาหนดสิทธิทางการเมือง จากข้อกำาหนดของพิธีสารเลือกรับกติกา
                  ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil

                  and Political Rights : ICCPR) มีข้อกำาหนดที่สำาคัญต่อการเคารพสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัย

                  ของพลเมืองในประเทศเป็นสำาคัญ ซึ่งประเทศไทยได้มีการปฏิบัติตามข้อกำาหนดของพิธีสารดังกล่าว
                  ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับผู้ที่มีอายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี  และสตรีที่
                  ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิตซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติ

                  ต่อผู้กระทำาผิดที่ยังคงมีการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพในการมีชีวิต อันแสดงให้เห็นถึงการไม่ปฏิบัติ

                  ตามพิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
                  Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ทั้งหมด หากแต่มีการเลือกปฏิบัติในประเด็น
                  ที่ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งหากประเทศไทยมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตได้อย่างแท้จริง

                  จะทำาให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศที่ให้ความคุ้มครองต่อสิทธิในการมี

                  ชีวิตของประชาชนในประเทศเป็นสำาคัญ


















        78     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96