Page 89 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 89
เป็นผู้ที่ถูกสภาพแวดล้อมบีบบังคับไม่ได้เป็นผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นอาชญากร หรือเป็นผู้ที่เป็นอาชญากร
โดยกมลสันดานที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่กลับเป็นผู้ที่ด้อยโอกาส หรือผู้ที่ถูกสภาพแวดล้อม
หล่อหลอม หรือบีบบังคับให้มีบุคลิกภาพที่บกพร่องจนมีการกระทำาผิดที่มีความรุนแรงจนกระทั่ง
ต้องได้รับโทษประหาร โดยแนวคิดการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟูได้แสดงให้เห็นถึง
การยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้กระทำาผิดหรือนักโทษประหาร
ได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟู เพื่อกลับเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป
๒.๔ สิทธิมนุษยชนกับโทษประห�รชีวิต
สำาหรับแนวคิดสิทธิมนุษยชนกับโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย
๒.๔.๑. ปฏิญญ�ส�กลว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of
Human Rights)
ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ (Moratorium) ได้ให้การรับรองปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตามข้อมติที่ 217 A (III) ประเทศไทยได้ออกเสียงสนับสนุนปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๑ ซึ่งถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ในการวางรากฐาน
ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลกและเป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนถือเป็นมาตรฐาน
ที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ได้ร่วมกันจัดทำาเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ของประชาชนทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่สิบแปดประเทศแรกที่ลงคะแนนเสียงร่วมรับรอง
ปฏิญญาฉบับนี้ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปฏิญญาสากลว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเป็น
เอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก
ในประเด็นเรื่องโทษประหารชีวิต มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ
ข้อ ๑ มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์ และสิทธิ
ต่าง ๆ มีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
ข้อ ๓ คนทุกคนมีสิทธิในการดำารงชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงแห่งตัวตน
ข้อ ๕ บุคคลใด ๆ จะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย
ผิดมนุษยธรรม หรือต่ำาช้ามิได้
จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human
Rights) ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะต้องให้ความสำาคัญ
ต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการประหารชีวิต
76 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ