Page 85 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 85
หากแต่ปัจจุบันมีผลการศึกษาหลายเรื่องที่ได้แสดงให้เห็นว่า การลงโทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้ง
หรือป้องปรามอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จาก
• ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ อัตราการเกิดการฆาตกรรม
ในรัฐที่มีการลงโทษประหารชีวิตสูงกว่าในรัฐที่ไม่มีการใช้โทษนี้
ถึง ๔๒% โดยในช่วงเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมานี้ อัตราการเกิดการ
ฆาตกรรมของรัฐต่าง ๆ ของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างน่าสังเกต ไม่ว่าจะมีการลงโทษประหารชีวิตกี่รายก็ตาม
• ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ เป็นต้นมา มลรัฐเท็กซัสได้ทำาการประหารชีวิต
นักโทษไปแล้วกว่า ๒๕๐ ราย มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ๑๓ ราย และ
มลรัฐนิวยอร์คไม่มีการประหารชีวิตเลย แต่อัตราคดีฆาตกรรม
ในรัฐทั้งสามคล้ายคลึงกันมากและเป็นไปตามแนวโน้มของประเทศ
• ในภาพรวม มลรัฐต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประหารชีวิต
นักโทษไปกว่า ๑,๐๐๐ คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ ในขณะที่ประเทศแคนาดา
ไม่มีการประหารชีวิตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๒ แต่ทว่าอัตราคดีฆาตกรรม
ของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มคล้ายคลึงกันมากในทศวรรษตั้งแต่นั้นมา
โดยที่อัตราของประเทศแคนาดาเป็นแค่หนึ่งในสามของประเทศ
สหรัฐอเมริกาตลอดช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้ ความไร้ประสิทธิผล
ในการยับยั้งของโทษประหารชีวิตในบริบทของประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้ถูกสะท้อนในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
• มีการศึกษาค้นคว้าผลงานเรื่องหนึ่งที่ถามความเห็นของนักอาชญาวิทยา
จำานวน ๖๗ ราย ว่าการวิจัยที่มีอยู่สนับสนุนการอ้างว่าโทษประหารชีวิต
สามารถยับยั้งการกระทำาผิดได้หรือไม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจำานวนมากกว่า
ร้อยละ ๘๐ ตอบว่าไม่สามารถยับยั้งอาชญากรรมได้
• ใน ๕๐ ปีที่ผ่านมา อัตราคดีฆาตกรรมในประเทศญี่ปุ่นลดลงร้อยละ ๘๐
ไม่มีประเทศอื่นที่มีการลดลงมากเท่านี้และการลดลงนี้ไม่สามารถ
จะอ้างได้ว่าสืบเนื่องมาจากนโยบายด้านโทษประหารชีวิตของ
ญี่ปุ่นเพราะว่านโยบายนี้ได้ลดความรุนแรงลงมากหลังสงครามโลก
ครั้งที่สอง
• หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดว่าโทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้ง
อาชญากรรมได้ อาจมาจากฮ่องกงและสิงค์โปร์ ประเทศที่เป็นเมือง
ขนาดใหญ่ที่คล้ายคลึงกันมากในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม
และเศรษฐกิจ
72 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ