Page 88 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 88
โอกาสที่ดีในชีวิต หรือมีสภาพแวดล้อมที่ดี จะทำาให้ผู้กระทำาผิดอาจไม่กระทำาผิด ดังนั้น สังคม
จึงจำาเป็นต้องให้โอกาสผู้กระทำาผิดให้ได้รับการแก้ไขตนเอง โดยการได้รับการบำาบัดรักษาและการ
แก้ไขฟื้นฟูที่มีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม เพื่อเป็นทรัพยากร
ที่มีคุณค่าของสังคมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป เช่นเดียวกับผู้กระทำาผิดที่ต้อง
โทษประหารชีวิต เนื่องจากไม่มีโอกาสที่ดีในชีวิต หรือปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเป็น
สิ่งที่หล่อหลอมทำาให้นักโทษประหารต้องกระทำาผิดจนกระทั่งต้องโทษประหารชีวิต
ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำาคัญต่อแนวคิด
การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เน้นกระบวนการในการแก้ไข
ฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน หรือการข่มขู่ยับยั้ง หรือการตัดโอกาสในการกระทำาผิด
แต่เพียงประการเดียว โดยจะเห็นได้จากกระบวนการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดโดยการใช้เรือนจำา
ที่ไม่ได้เน้นการควบคุมตัวผู้กระทำาผิดแต่เพียงประการเดียว หากแต่เน้นการใช้กระบวนการในการ
บำาบัดและแก้ไขฟื้นฟู เพื่อทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคมเพื่อเป็นทรัพยากรที่มี
คุณค่าต่อสังคม
ซึ่งหากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในด้านการลงโทษผู้กระทำาผิดที่ในอดีต
เน้นการแก้แค้นทดแทน ทำาให้รูปแบบของการลงโทษเน้นการลงโทษที่รุนแรงและมีความโหดร้าย
ทารุณ รวมทั้งการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม โดยการทำาให้
ผู้กระทำาผิดได้รับผลจากการกระทำาที่สาสมกับที่ได้กระทำาต่อเหยื่ออาชญากรรม หรือสังคม หากแต่
ปัจจุบันแนวคิดในด้านการลงโทษผู้กระทำาผิดได้เน้นการแก้ไขฟื้นฟูเป็นสำาคัญ ดังนั้น การใช้โทษประหาร
ชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดในด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด เพราะการลงโทษประหาร
ชีวิตเป็นการทำาลายชีวิตของผู้กระทำาผิดไม่ให้ได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูตนเอง จึงปรากฏให้เห็นว่า
ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะอาจเชื่อว่าการใช้
โทษประหารชีวิตไม่ได้มีส่วนสำาคัญในการทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการกลับตนเป็นคนดี
แต่ประการใด รวมทั้งไม่ได้มีส่วนทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูตนเอง และไม่ได้เป็น
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของสังคมที่มีต่อตัวผู้กระทำาผิด เพราะพฤติกรรมการกระทำาผิด
ของนักโทษประหารส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยทางด้านสังคมที่มีส่วนกระตุ้น หรือบีบบังคับทำาให้
ผู้กระทำาผิดต้องกระทำาผิดจนกระทั่งต้องโทษประหาร
ดังนั้น แนวคิดด้านการลงโทษและการปฏิบัติในปัจจุบันมีการเน้นการปฏิบัติต่อผู้กระทำา
ผิดที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟูมากขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่มีสถานภาพเป็นนักโทษประหาร
ก็เช่นเดียวกัน ได้มีแนวโน้มในการใช้แนวคิดเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากประเทศ
ส่วนใหญ่ทั่วโลกมีแนวโน้มในการยกเลิกโทษประหาร รวมทั้งหลายประเทศแม้จะยังคงโทษประหาร
หากแต่มีการประหารชีวิตจริงไม่มาก อันแสดงให้เห็นถึงทิศทางหรือแนวโน้มของการใช้โทษประหาร
ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกว่ามีแนวโน้มที่จะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารที่มากขึ้น เนื่องจากแนวคิด
ของการลงโทษ หรือการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่มีแนวโน้มในการแก้ไขฟื้นฟู เพราะเชื่อว่าผู้ที่กระทำาผิด
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 75