Page 92 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 92
๒.๔.๓ พิธีส�รเลือกรับฉบับที่สอง แห่งกติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิท�งก�รเมือง (Second Optional Protocol
to the International Covenant on Civil and Political
Rights)
พิธีสารฉบับนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ได้เป็นภาคีฉบับที่สองนี้ แต่เนื่องจากประเทศไทย
ได้เป็นภาคีแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงควรพิจารณาถึงสาระของพิธีสาร ซึ่งเห็นว่าข้อ ๖ ของกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวถึงการยกเลิกโทษประหารชีวิต
โดยเสนอแนะอย่างจริงจังว่าการยกเลิกนี้เป็นสิ่งอันพึงปรารถนา จึงเชื่อมั่นว่ามาตรการทั้งมวล
ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต จะต้องถือเป็นความก้าวหน้าในการมีสิทธิที่จะมีชีวิต และมุ่งมั่นที่จะ
ดำาเนินการเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต พิธีสารกำาหนดว่า
ข้อ ๑ ไม่มีบุคคลใดที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของรัฐภาคีในพิธีสาร
ฉบับนี้จะถูกประหารชีวิตได้
รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องดำาเนินมาตรการที่จำาเป็นทุกอย่างเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต
ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของตน
ข้อ ๒ พิธีสารฉบับนี้ไม่ยอมรับข้อสงวนใดๆ ยกเว้นข้อสงวนที่กระทำาในเวลา
สัตยาบัน หรือเมื่อเข้าภาคยานุวัติ ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้บทลงโทษประหารชีวิตระหว่างสงคราม
ตามคำาพิพากษาคดีอาญาร้ายแรงที่สุดทางทหารที่กระทำาในระหว่างสงคราม
พิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil
and Political Rights) มีวัตถุประสงค์สำาคัญที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
โดยกำาหนดให้เมื่อประเทศสมาชิกได้มีการลงนามแล้ว จะต้องไม่มีการลงโทษประหารชีวิตในประเทศ
ดังกล่าวสำาหรับอาชญากรรมร้ายแรงทั่วไป (Ordinary Crime) ทุกประเภทคดี หากแต่สามารถใช้
โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมร้ายแรง (Most Serious Crime) ระหว่างสงครามตามคำาพิพากษา
คดีอาญาร้ายแรงทางทหารที่กระทำาในระหว่างสงคราม โดยมีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่ละเมิดต่อ
ความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยของสังคม การละเมิดกฎอัยการศึก หรือกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่ร้ายแรงทางทหารในขณะเกิดภาวะสงคราม การก่อการร้าย และการกบฏ
โดยส่วนหนึ่งเป็นพฤติกรรมการกระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียชีวิตโดยเป็นการฆาตกรรม
โดยเจตนาเป็นสำาคัญ (Eric Neumayer, 2008)
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 79