Page 95 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 95

โทษประห�รชีวิตในกฎหม�ยและในท�งปฏิบัติสำ�หรับประเทศที่ยังคงใช้โทษประห�ร
                  ชีวิต

                           ในขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มีข้อจำากัดต่อการใช้โทษประหารชีวิต คือ จะต้องใช้

                  สำาหรับอาชญากรรมร้ายแรง  อย่างไรก็ตาม  ยังคงมีการประยุกต์ใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับ
                  อาชญากรรมร้ายแรงที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศส่วนใหญ่ที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต
                  อาจไม่ได้คำานึงถึงอาชญากรรมร้ายแรง อาทิ ประเทศอิหร่าน ผู้ที่ถูกประหารมากกว่าร้อยละ ๘๐

                  ไม่ได้มีพฤติกรรมการกระทำาผิดเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

                  ที่มีการประหารชีวิตสำาหรับคดีที่ไม่เกี่ยวกับการสูญเสียชีวิต และประเทศมาเลเซียที่ผู้ถูกประหารชีวิต
                  ส่วนใหญ่ได้กระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด  ในขณะที่หลายประเทศได้กำาหนดให้การกระทำาผิด
                  ที่เกี่ยวข้องกับการคบชู้ การละทิ้งหรือเลิกนับถือศาสนา การข่มขืน การรวมแก๊งปล้น การร่วมเพศ

                  ที่ผิดธรรมชาติ  เป็นความผิดที่ต้องโทษประหารชีวิต  อย่างไรก็ตาม  ในกลุ่มประเทศแคริบเบียน

                  ที่ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความเชื่อว่าการใช้โทษประหารชีวิตสามารถยับยั้งอาชญากรรมได้  หากแต่
                  ในทางปฏิบัติได้มีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับการฆาตกรรมและมีการใช้โทษประหารไม่มากนัก
                  (International Commission against the Death Penalty. 2013)




                           ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกมีแนวโน้มยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งที่เป็นการยกเลิก
                  ในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม หากประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิตจะ
                  มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งเป็นการกระทำาผิดที่เป็นการฆาตกรรม

                  โดยเจตนาหรือการกระทำาที่ทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต จะทำาให้จำานวนผู้ที่จะถูกประหารชีวิตทั่วโลกมีจำานวน

                  ที่ลดลง


                           อ�ชญ�กรรมร้�ยแรงที่สุด (Most Serious Crime) ในประเทศไทย

                           แม้ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศไทยจะไม่ได้กำาหนดให้มีการใช้โทษประหารชีวิตโดยตรง

                  รวมทั้งจากแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ ๒ ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการเปลี่ยนโทษประหารชีวิต
                  เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต  จากประมวลกฎหมายอาญาปรากฏว่ามีการกำาหนดโทษประหารชีวิตไว้
                  สำาหรับ ๓๕ ฐานความผิด อาทิ การลอบวางเพลิง การติดสินบน การคอรัปชั่น ความผิดที่เกี่ยวข้อง

                  กับยาเสพติด  การรวมกลุ่มแก๊งในการปล้น  การค้ามนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต  การลักพาตัว

                  เพื่อเรียกค่าไถ่ การฆาตกรรมในคดีอุกฉกรรจ์ การข่มขืนแล้วฆ่า และความผิดในคดีอุกฉกรรจ์อื่น ๆ
                  ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต การก่อการร้ายซึ่งประกอบด้วยการทำาลายสถานที่ของส่วนรวม สถานที่
                  ทางศาสนา หรือแหล่งขนส่งมวลชน การจี้เครื่องบินที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเสียชีวิต การกบฏ การกระทำาผิด

                  ต่อเชื้อพระวงศ์  การกระทำาผิดต่อความมั่นคงของรัฐ  การให้การสนับสนุนต่อศัตรูในการทำาลาย

                  ประเทศชาติ และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ เป็นต้น








        82     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100