Page 86 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 86

โดยประเทศทั้งสองนี้แตกต่างกันอย่างมากด้านนโยบายโทษประหารชีวิต
                     การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในฮ่องกงเกิดขึ้นในปี  ค.ศ.  ๑๙๖๖  (หนึ่งปีหลังจากประเทศอังกฤษ

                     หยุดการประหารชีวิต) และฮ่องกงยกเลิกโทษประหารชีวิตทางกฎหมายในปี ค.ศ. ๑๙๙๓

                                     เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสิงคโปร์  และเมืองฮุสตัน  ประเทศสหรัฐอเมริกา
                     ฮุสตันเป็นเมืองที่มีขนาดเท่า  ๆ  กับสิงคโปร์  และเป็นเมืองในมลรัฐที่มีการใช้กฎหมายประหาร
                     ชีวิตอย่างจริงจังที่สุดของสหรัฐอเมริกา ในกลางทศวรรษที่ ๑๙๙๐ ประเทศสิงคโปร์ประหารชีวิต

                     นักโทษมากกว่าการประหารชีวิตในเมืองฮุสตัน  ๒๐  ถึง  ๒๕  เท่า  โดยสิงคโปร์ประหารชีวิต

                     นักโทษ  ๗๖  ราย  ในปี  ค.ศ.  ๑๙๙๔  ซึ่งมากกว่าการประหารชีวิตทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
                     ในช่วงเวลา ๓๐ ปี ตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ถึง ปี ค.ศ. ๒๐๐๖ (ญี่ปุ่นมีประชากรมากกว่าสิงคโปร์
                     ๓๐ เท่า)

                                     แม้จะมีนโยบายด้านโทษประหารชีวิตแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อัตราคดีฆาตกรรม

                     ของสิงค์โปร์และฮ่องกงก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด ๓๕ ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าอัตรา
                     การประหารชีวิตในสิงคโปร์จะลดลงในสองสามปีที่ผ่านมา (มีการประหารชีวิตเพียงห้าครั้ง ในปี ค.ศ.
                     ๒๐๐๖ และสองครั้ง ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗) แต่อัตราคดดีฆาตกรรมกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง (สมาคม

                     สิทธิเสรีภาพของประชาชน, ๒๕๕๑)

                                     จากการศึกษากรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา  ได้มีข้อมูล
                     สำาคัญที่แสดงให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตไม่มีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรม กล่าวคือ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓
                     ภายหลังจากที่ประเทศแคนาดาได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นระยะเวลา ๒๗ ปี พบว่า

                     อัตราการเกิดเหตุฆาตกรรมมีจำานวนลดลงร้อยละ ๔๔ เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. ๑๙๗๕ ซึ่งเป็น

                     ช่วงเวลาที่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิต
                                     นอกจากนี้ ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ ปรากฏว่ามีอัตรา
                     คดีฆาตกรรมเฉลี่ยในรัฐที่มีโทษประหารอยู่ที่ระดับ ๕.๗๑ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน เมื่อเปรียบเทียบกับ

                     ๔.๐๒ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในรัฐซึ่งไม่มีโทษประหารชีวิต (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล,

                     ๒๕๕๔)
                                     จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น  จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า
                     โทษประหารชีวิตไม่มีผลต่อการข่มขู่ยับยั้งพฤติกรรมการกระทำาผิดของอาชญากร  เพราะแม้จะมี

                     การบังคับใช้โทษประหารชีวิต แต่ไม่อาจทำาให้การประกอบอาชญากรรมหมดสิ้นหรือลดลงไปดังกรณี

                     ดังกล่าวข้างต้น
                             ๓) ก�รลงโทษเพื่อตัดโอก�สกระทำ�ผิด (Incapacitation)
                                 เป็นการลงโทษเพื่อการป้องกันสังคมหรือการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาส

                     ในการกระทำาผิดอีกต่อไป  ซึ่งนับได้ว่าการลงโทษประหารชีวิตมีวัตถุประสงค์ที่สำาคัญประการหนึ่ง

                     คือ  ตัดโอกาสผู้กระทำาผิดไม่ให้มีโอกาสในการกลับมากระทำาผิดได้อีก  อย่างไรก็ตาม  แนวคิด
                     ในการลงโทษเพื่อตัดโอกาสในการกระทำาผิดของอาชญากรนี้ ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการ






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 73
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91