Page 84 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 84

มีชีวิตอยู่ต่อไป  การลงโทษประหารชีวิตซึ่งเป็นกระบวนการลงโทษผู้กระทำาผิดที่ยังคงมุ่งเน้นการ
                     ทำาลายชีวิตของผู้กระทำาผิด  จึงเป็นการลงโทษที่ขัดต่อสถานการณ์ของการให้ความสำาคัญต่อ

                     หลักสิทธิมนุษยชนของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกในปัจจุบัน  ซึ่งแนวทางที่สำาคัญในการเคารพ

                     สิทธิมนุษยชนของประชาชนในสังคมแนวทางหนึ่งที่สำาคัญ คือ การยกเลิกโทษประหารชีวิต
                             สำาหรับประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศส่วนน้อยในโลกที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต
                     สำาหรับลงโทษผู้กระทำาผิด จึงอาจเป็นการใช้มาตรการลงโทษผู้กระทำาผิดที่สวนทางกับแนวคิดเรื่อง

                     สิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการตอบสนองต่อกระแสการคุ้มครอง

                     สิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อทำาให้การปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิด
                     มีมนุษยธรรมและมีมาตรฐานสากลมากขึ้น  ดังนั้น  ประเทศไทยอาจต้องมีการทบทวนถึงการใช้
                     โทษประหารชีวิต  ประกอบกับประเทศไทยได้มีการจัดทำาแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่  ๒

                     ที่ได้กำาหนดตัวชี้วัดกลยุทธ์หลักนี้ไว้เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของแผน  ซึ่งหนึ่งในตัวชี้วัด  คือ

                     ต้องมีการผลักดันให้กฎหมายที่มีอัตราโทษประหารชีวิตได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาให้มีการ
                     ยกเลิกให้เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต  ดังนั้น  จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงประเทศไทยได้มีการเตรียม
                     ความพร้อมที่จะยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต เพื่อคำานึงถึงสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ

                     เป็นสำาคัญ



                             ๒.๓.๒ ก�รเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้�นก�รลงโทษและก�รปฏิบัติต่อ
                                     ผู้กระทำ�ผิด

                                     สำาหรับแนวคิดด้านการลงโทษและการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เกิดขึ้นในยุคต่าง ๆ

                     ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
                                       ๑) ก�รลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution)
                                          เป็นการลงโทษที่มีมาตั้งแต่อดีต  หากแต่รูปแบบของการลงโทษจะมี

                     ความโหดร้ายทารุณเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนการกระทำาผิดของอาชญากรเป็นสำาคัญ เช่นเดียวกับ

                     การใช้โทษประหารชีวิตที่มีเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนผู้กระทำาผิดให้ได้รับผลร้ายจากการกระทำาผิด
                     เพื่อทำาให้คนในสังคมเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมมีความยุติธรรมอย่างแท้จริง หากแต่ปัจจุบันแนวคิด
                     ในการลงโทษผู้กระทำาผิดเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนไม่ค่อยมีการนำามาใช้ในประเทศต่าง ๆ มากนัก

                     ดังจะเห็นได้จากประเทศส่วนใหญ่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  รวมทั้งการลงโทษที่มีมนุษยธรรม

                     มากขึ้น แทนการลงโทษต่อเนื้อตัวและการทรมานที่มีความโหดร้ายดังเช่นในอดีต
                                       ๒) ก�รลงโทษเพื่อข่มขวัญยับยั้ง (Deterrence)
                                          เป็นการลงโทษเพื่อป้องกันการกระทำาผิด  โดยทำาให้ผู้กระทำาผิดรู้สึกว่า

                     ผลของการกระทำาผิดก่อให้เกิดความเจ็บปวดและไม่ก่อให้เกิดผลดี โดยเป็นการลงโทษเพื่อข่มขวัญ

                     ยับยั้งเฉพาะบุคคลและเป็นการข่มขวัญยับยั้งทั่วไปในสังคม  ซึ่งการใช้โทษประหารชีวิตในสังคม
                     นับตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการข่มขวัญยับยั้งบุคคลทั่วไปในสังคม






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 71
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89