Page 82 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 82
และในมาตรา ๓๒ ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”
หากแต่ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้า
มาเป็นการฉีดสารพิษ แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ที่ให้ความสำาคัญต่อการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดด้วยการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำาผิด
ประเทศไทยจึงได้มีการเตรียมความพร้อมต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยได้มีการจัดทำาแผน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖) ซึ่งมีรายละเอียดที่สำาคัญ ดังนี้
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำาแผนไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการแปลงแผน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปสู่แผนบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแผนอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับ
การดำาเนินภารกิจแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ด้วยเหตุนี้ นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ ยังมีความสำาคัญในการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ในการกำาหนดเป้าหมายการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อสามารถ
ทำาให้ประชาชนได้มีหลักประกันในความเป็นธรรมในการที่จะได้รับการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพที่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
ในบทที่ ๓ ของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ ว่าด้วยทิศทางขององค์กร
เครือข่ายสิทธิมนุษยชน ได้กำาหนดวิสัยทัศน์ว่า “เป็นองค์กรเครือข่ายในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามหลัก
สิทธิมนุษยชน” และได้กำาหนดยุทธศาสตร์ ดังนี้
๑) ยุทธศาสตร์ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดความเสมอภาค
ตามความเป็นจริง นอกเหนือจากความเสมอภาคทางกฎหมาย
๒) ยุทธศาสตร์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทุกกลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปตามหลัก
สิทธิมนุษยชน
๓) ยุทธศาสตร์ดำาเนินการตามเป้าหมายให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน
๔) ยุทธศาสตร์พัฒนากฎหมายและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้งการบังคับ
ใช้กฎหมาย เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๕) ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเครือข่ายให้มีศักยภาพในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนให้มีความเข้มแข็งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและพัฒนา
ไปสู่มาตรฐานสากล
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 69