Page 81 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 81
๒.๓ สถ�นก�รณ์เกี่ยวกับก�รประห�รชีวิตในปัจจุบัน
๒.๓.๑ ก�รเปลี่ยนแปลงสถ�นก�รณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
และต่�งประเทศ
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมองว่าการลงโทษประหารชีวิตเป็นการกระทำา
ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม ขัดต่อหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในการมีชีวิต (Right to
life) และหากมีความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมก็อาจมีการลงโทษผู้ที่มิได้กระทำาความผิดได้
และถ้าคำานึงถึงกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ที่ให้ความสำาคัญด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด
การลงโทษประหารชีวิตก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระทำาผิดได้แก้ไขฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งเป็นเหตุผล
ที่สำาคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของหลายประเทศในปัจจุบัน
สำาหรับการให้ความสำาคัญกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดโดยคำานึงถึงสิทธิมนุษยชน
ของผู้กระทำาผิดเป็นสำาคัญ ดังจะเห็นได้จากประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกมีการยกเลิกการใช้โทษประหาร
ชีวิต กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต จำานวน ๑๔๐ ประเทศ โดยยังมี
๕๘ ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในประเทศเหล่านี้มีเพียงไม่ถึงครึ่งที่นำาโทษประหารชีวิต
มาใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชียและตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งประเทศ
ส่วนใหญ่ได้ให้ความสำาคัญต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๕ ของสหประชาชาติ
ที่กล่าวว่า
“บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม ย่ำายีศักดิ์ศรีไม่ได้”
และพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ ๒ แห่งกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง ที่มุ่งหมายที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเชื่อว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิตมีส่วน
ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่มีบุคคลที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของภาคี
ในพิธีสารฉบับนี้จะถูกประหารชีวิตได้ อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก
ได้ให้ความสำาคัญต่อการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดโดยคำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งโทษประหารชีวิต
จึงเป็นการลงโทษที่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำาเป็นที่สุดสำาหรับบุคคล นั่นคือ
“สิทธิในการมีชีวิต” ซึ่งได้รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อันเหตุผลสำาคัญ
ที่ทำาให้ประเทศส่วนใหญ่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
สำาหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๔ วางหลักว่า
“ศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง”
68 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ