Page 38 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 38

ยกเว้นคดีข่มขืน  นอกจากนี้  มีการสำารวจความคิดเห็นของประชาชนในมลรัฐอื่น  ๆ  ปรากฏว่า
                     มีแนวโน้มที่จะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต (Reggio, 2008)

                                 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๑๗ – ๑๙๕๕ การยกเลิกการใช้โทษประหาร

                     ชีวิต มีแนวโน้มที่ไม่มีการกล่าวถึงมากนักดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ – ๑๙๒๐
                     มลรัฐวอชิงตัน  มลรัฐแอริโซนา  และมลรัฐโอเรกอน  ได้นำาโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้ง
                     โดยในปี  ค.ศ.  ๑๙๒๔  การประหารชีวิตด้วยการใช้แก๊สไซยาไนด์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เนวาดา

                     โดย จี จอน (Gee Jon) ได้เป็นนักโทษประหารคนแรกที่ต้องโทษประหารชีวิตด้วยแก๊ส โดยทาง

                     มลรัฐต้องการให้มีการปล่อยแก๊สไซยาไนด์ให้แก่จอนในขณะที่นอนหลับตอนกลางคืนเพื่อหลัก
                     สิทธิมนุษยชนในการประหารชีวิต  แต่แนวคิดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกเพราะมีความยุ่งยาก  จึงมีการ
                     สร้างห้องประหารด้วยแก๊สขึ้นอย่างเร่งรีบ  ต่อมา  ได้มีการพัฒนารูปแบบการประหารชีวิต

                     ด้วยวิธีการที่ทันสมัยมากขึ้น  เมื่อพบว่าการประหารชีวิตด้วยรูปแบบเดิมประสบปัญหา

                     ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เจริญ โดยในปี ค.ศ. ๑๙๓๐ นางอีวา ดีแกน (Eva Dugan) เป็นนักโทษ
                     ประหารหญิงคนแรกที่ต้องโทษประหารที่มลรัฐแอริโซนา การประหารชีวิตได้ทำาอย่างสุกเอาเผากิน
                     ไม่ได้คำานึงถึงตัวผู้ถูกประหารชีวิต  เมื่อเพชฌฆาตได้มีการประเมินตำาแหน่งในการประหารผิด

                     ทำาให้ศีรษะของนางอีวา ดีแกนหลุดออกจากตัว หลายมลรัฐจึงมีการเปลี่ยนแปลงการประหารชีวิต

                     จากการแขวนคอ  เป็นการใช้เก้าอี้ไฟฟ้าและการใช้แก๊ส  ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวผู้ต่อต้าน
                     การประหารชีวิตได้มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิกการประหารชีวิตทั่วประเทศ  แต่ได้รับ
                     ผลสะท้อนกลับมาเพียงเล็กน้อย  แม้ว่าจะมีการประท้วงต่อการประหารชีวิต  แต่มีการต่อต้าน

                     การใช้โทษประหารชีวิตไม่มากนัก  ซึ่งแท้จริงแล้วในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการต่อต้านระบบ

                     คอมมิวนิสต์ที่กำาลังเกิดขึ้นและสร้างความหวาดกลัวให้แก่คนเป็นจำานวนมาก โดยผู้ว่าการรัฐเท็กซัส
                     ได้กล่าวว่าโทษประหารชีวิตมีความจำาเป็นต่อผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับกลุ่มคอมมิวนิสต์  (Reggio,
                     2008)

                                 การต่อต้านโทษประหารชีวิตได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๕๕ – ๑๙๗๒

                     โดยประเทศอังกฤษและแคนาดาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตอย่างละเอียด  ซึ่งมีการ
                     วิจารณ์การประหารชีวิตอย่างมาก  รวมทั้งข้อมูลที่เผยแพร่จากนักโทษประหารชีวิตในประเทศ
                     สหรัฐอเมริกาที่มีการนำาเสนอผ่านทางหนังสือและภาพยนตร์  เช่น  นักโทษในคดีลักพาเด็ก  คาร์ล

                     เชสแมน (Caryl Chessman) ได้นำาไปสู่ผลงานเขียนที่ตีพิมพ์ในชื่อ “Cell 2455 Death Row

                     and Trial by Ordeal” หรือ นักโทษประหาร บาบาร่า แกรแฮม ที่ภายหลังการประหารชีวิต
                     ได้นำาไปสู่หนังสือและภาพยนตร์เรื่อง  “I  Want  to  Live  !”  ได้มีการเผยแพร่เรื่องราว
                     การประหารชีวิตผ่านทางโทรทัศน์  ต่อมาในปี  ค.ศ.  ๑๙๕๗  ได้มีการยกเลิกการประหารชีวิต

                     ในมลรัฐฮาวาย  มลรัฐอลาสก้า  และมลรัฐเดลาแวร์  ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในปีถัดไป

                     และมีการนำากลับมาใช้ใหม่ ในปี ค.ศ. ๑๙๖๑ นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. ๑๙๖๓ มลรัฐมิชิแกนมีการยกเลิก








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 25
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43