Page 43 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 43
• การถ่วงน้ำา (Drowning)
• การแล่เนื้อถลกหนัง (Flaying)
• การเฉือนเนื้อเป็นแผ่นบาง ๆ (Slow slicing)
• การควักเอาเครื่องในออกจากร่างกาย (Disembowelment)
• การเสียบหรือแทง (Impalement) โดยการเสียบร่างกายของผู้ถูกประหารกับไม้
ที่มีความแหลมคม ให้ร่างกายเสียบติดอยู่กับไม้ดังกล่าว
• การเสียบแทงด้วยของแหลมคม (Stabbing) โดยการนำาของแหลมคมเสียบร่างกาย
ผู้ถูกประหารชีวิต อาทิ การแทงคอหอย ได้รับความเจ็บปวดและเลือดไหลจาก
ร่างกายจนกระทั่งเสียชีวิต
• การตรึงไม้กางเขน (Crucifixion) โดยมีการตอกเล็บเพื่อตรึงกับไม้กางเขน ซึ่งยังคง
มีการใช้ประหารชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์ ในปี ๒๐๐๖
• การบดเหยียบ รวมทั้งการให้ช้างเหยียบ (Crushing)
• การใช้เหล็กรีดร่างกาย (Iron Maiden) เป็นการทรมานร่างกายผู้กระทำาผิดด้วยการ
ใช้เหล็กรีดร่างกายผู้ต้องโทษประหารให้ได้รับการทรมานหรือเสียชีวิต
• การปาด้วยก้อนหิน (Stoning)
• การตัดออกเป็นส่วน ๆ (Dismemberment) โดยการนำาผู้ถูกประหารผูกแขนขา
ทั้งสี่ด้าน แล้วมีการดึงแขนขาของผู้ถูกประหารชีวิต อาทิ การใช้ม้าให้แยกจาก
ร่างกายจนกระทั่งเสียชีวิต
• การเลื่อย (Sawing) โดยการนำาผู้ถูกประหารเลื่อยอวัยวะในร่างกายออกเป็นชิ้นเล็ก
ชิ้นน้อย
• การให้ดื่มยาพิษจนกระทั่งเสียชีวิต (Poison)
• การปล่อยให้อยู่ร่วมกับงูพิษ (Snake Pit)
• การปล่อยเกาะจนกระทั่งเสียชีวิต (Marooning)
• การปล่อยให้อดอาหารจนกระทั่งเสียชีวิต (Starvation)
• การใส่กรงนกและปล่อยให้เสียชีวิต
เป็นการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นในประเทศอัฟกานิสถาน ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๒๑ โดยการ
นำาผู้ต้องโทษประหารใส่ในกรงนกและแขวนไว้ในที่สูงจนกระทั่งเสียชีวิต
• การให้นักโทษประหารได้ต่อสู้กับสิงโตซึ่งเกิดขึ้นในสมัยโรมัน
• การประหารชีวิตด้วยเครื่อง Garrote ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดศีรษะหรือเท้า และหมุน
อุปกรณ์ที่ยึดตรึงกับคอ ทำาให้ขาดอากาศและเสียชีวิตในที่สุด
• การตัดศีรษะออก (Decapitation)
• การใช้กิโยตินในการตัดศีรษะ (Guillotine)
เนื่องจากการประหารชีวิตที่มีแนวโน้มในการเน้นสิทธิมนุษยชนและต้องการลด
30 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ