Page 39 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 39
โทษประหารชีวิตสำาหรับคดีกบฎ ในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในมลรัฐโอเรกอน
ปี ค.ศ. ๑๙๖๕ มลรัฐไอโอวา มลรัฐนิวยอร์ค มลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย และมลรัฐเวอร์มอนต์
ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต และปี ค.ศ. ๑๙๖๙ มลรัฐนิวเม็กซิโกมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
(Reggio, 2008)
การพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิตในแต่ละมลรัฐเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ดังนั้น
การยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ความพยายามผ่านศาล ซึ่งได้ประสบความสำาเร็จ
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๑๙๗๒ กรณีของ เฟอร์แมน ในมลรัฐจอร์เจีย แม้ผู้พิพากษา
จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่เสียงส่วนใหญ่ได้เห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการสร้าง
ความแตกต่างและเป็นการลงโทษที่มีความโหดร้าย การดำาเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ผ่านทางระบบศาลทำาให้เกิดการสิ้นสุดของการลงโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนับสนุน
ให้มีการประหารชีวิตได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตที่เป็นการลดความแตกต่าง
ของการตัดสินประหารชีวิต ซึ่งขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ของคณะผู้พิพากษา ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๕
มลรัฐจำานวน ๓๓ มลรัฐ จึงได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตขึ้นอีกครั้ง
และมีผู้ต้องขังประมาณเกือบ ๒๐๐ คน ที่เป็นนักโทษประหาร ในเกริกก์ มลรัฐจอร์เจีย
ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ ศาลสูงสุดได้สนับสนุนการผ่านกฎหมายประหารชีวิตรูปแบบใหม่และได้ชี้
ให้เห็นว่าการประหารชีวิตไม่ได้เป็นการลงโทษที่มีความโหดร้าย หรือมีความผิดปกติแตกต่าง
จากการลงโทษในรูปแบบอื่นแต่อย่างใด การประหารชีวิตจึงได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง รวมทั้ง
การประหารชีวิตรูปแบบใหม่ได้เกิดขึ้นตามมา โดยมลรัฐโอคลาโฮมาได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีพื้นฐานที่สำาคัญ คือ เป็นการประหยัด
ค่าใช้จ่ายและเป็นการดำาเนินการประหารชีวิตที่คำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ในขณะที่หากมี
การประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าซึ่งไม่ได้ดำาเนินการมาเป็นเวลานานถึง ๑๑ ปี จะก่อให้เกิด
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซ่อมแซมที่มีราคาสูง หรือหากมีการประหารชีวิตด้วยการใช้แก๊สพิษ
จะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการสร้างห้องประหารประมาณมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ดอลล่าร์ หากแต่
การประหารชีวิตด้วยการฉีดยาจะมีค่าใช้จ่ายเพียง ๑๐ - ๑๕ ดอลล่าร์ ต่อการประหารนักโทษ
๑ คน (Reggio, 2008)
นอกจากนี้ ได้มีการขับเคลื่อนให้มีการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการสร้าง
ความมั่นคงปลอดภัยให้กับสังคม โดยนักการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับมลรัฐได้มี
การกำาหนดกฎหมายและเรียกร้องให้มีการประหารชีวิตมากขึ้น ตลอดจนการใช้โทษประหารชีวิต
สำาหรับอาชญากรรมหลายประเภทและการใช้โทษจำาคุกที่มีระยะเวลามากขึ้นสำาหรับผู้กระทำาผิด
โดยมีการเรียกร้องให้มีการลงโทษที่มีความรุนแรงและรวดเร็วมากขึ้น อันทำาให้อาชญากรรม
มีจำานวนไม่มากขึ้นและไม่มีความรุนแรงมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แม้ว่าสำานักงานสอบสวนกลาง
(Federal Bureau of Investigation : FBI) ได้แสดงให้เห็นถึงสถิติอาชญากรรมที่มีจำานวน
มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากสถิติการฆาตกรรมในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ มีจำานวนฆาตกร ๙.๓ คน
26 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ