Page 42 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 42
การลงโทษทางร่างกาย การไม่คบหาสมาคมด้วย การเนรเทศ และการประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม
ในชุมชนขนาดเล็ก การประกอบอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยและการฆาตกรรมเป็นอาชญากรรม
ที่เกิดจากความโกรธ ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่ยังลังเลต่อการลงโทษด้วย
การประหารชีวิตสมาชิกของชุมชน ดังนั้น การประหารชีวิตหรือการเนรเทศจึงไม่ค่อยปรากฏขึ้น
ในชุมชน ซึ่งการลงโทษที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยส่วนใหญ่จะใช้เพียงการลงโทษด้วยวิธีการจ่าย
ค่าชดเชยและการไม่คบหาสมาคมด้วย ซึ่งมีความเพียงพอต่อโทษที่กระทำาผิดของกระบวนการ
ยุติธรรมแล้ว (Capital Punishment, 2008)
อย่างไรก็ตาม การลงโทษในรูปแบบดังกล่าวอาจไม่มีประสิทธิภาพต่อความรับผิดชอบ
ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชญากรรมของคนภายนอกชุมชน ซึ่งอาชญากรรมที่ประกอบ
โดยบุคคลภายนอกจะถูกมองว่าเป็นการกระทำาที่มีความรุนแรงและควรได้รับการลงโทษ
อย่างรุนแรง ซึ่งรูปแบบของการลงโทษมีความหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเฆี่ยนตี การตก
เป็นทาส และการประหารชีวิต หากแต่ความรับผิดชอบที่กระทำาผิดโดยชนเผ่าเพื่อนบ้าน
หรือชุมชนใกล้เคียงประกอบด้วยการขอโทษอย่างเป็นทางการ การจ่ายค่าชดเชย การให้ที่ดิน
ที่เป็นมรดกตกทอด (Capital Punishment, 2008)
ความอาฆาตแค้นระหว่างตระกูลเกิดขึ้นเมื่อการตัดสินชี้ขาดระหว่างตระกูลหรือเผ่า
ประสบความล้มเหลว หรือไม่มีระบบในการทำาหน้าที่ตัดสินชี้ขาด โดยรูปแบบของกระบวนการ
ยุติธรรมจะเป็นรูปแบบที่ธรรมดาก่อนที่จะมีระบบการตัดสินของทางรัฐหรือองค์กรทางศาสนาเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นผลมาจากอาชญากรรม ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดิน และข้อกำาหนด (a code of honor)
การกระทำาที่โต้ตอบภายใต้ข้อกำาหนดเป็นความสามารถของสังคมที่จะปกป้องตนเองและแสดง
ให้ศัตรูได้เห็นว่าการทำาลายทรัพย์สิน การละเมิดสิทธิ หรือการทำาร้ายบุคคลจะไม่ถูกลงโทษ
อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าการกระทำาใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากความอาฆาตพยาบาท
ระหว่างตระกูล หรือการต้องการเอาชนะ (Capital Punishment, 2008)
สำาหรับโทษประหารชีวิตที่ใช้ลงโทษผู้กระทำาผิดในอดีตมักเป็นการลงโทษที่มี
ความโหดร้ายทารุณ โดยรูปแบบของการลงโทษประหารชีวิตตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ที่มีการจดบันทึกในประวัติศาสตร์ทั่วโลกที่มีลักษณะสำาคัญ ได้แก่
• การใส่ในล้อเกวียน (Breaking wheel) โดยการผูกผู้ถูกประหารติดกับล้อเกวียน
และตีด้วยกระบองเหล็กจนกระทั่งเสียชีวิต หรือการนำาผู้ถูกประหารผูกติดกับล้อ
เกวียนแล้วเหวี่ยงล้อเกวียนให้กระแทกจนกระทั่งเสียชีวิต
• การต้มในน้ำาเดือด (Boiling to Death) โดยการนำาผู้ถูกประหารใส่ในน้ำา น้ำามัน
เทียน หรือของเหลวที่ต้มเดือด
• การเผาทั้งเป็น (Burning) โดยการนำาผู้ถูกประหารเผาทั้งเป็น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ประหาร
ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด
• การฝังทั้งเป็น (Burial) โดยการนำาผู้ที่ถูกประหารฝังทั้งเป็น
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 29