Page 34 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 34
การฆาตกรรมบุคคลที่ไม่มีอาวุธหรือหนทางในการต่อสู้ การฆาตกรรมจากการพูดเท็จหรือจากการ
วางยาพิษ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือผิดธรรมชาติ การขโมยย่องเบา การลักพาเด็ก การเบิก
ความเท็จ การเป็นกบฏโดยปฏิเสธสิทธิหรืออำานาจของพระมหากษัตริย์ การสมรู้ร่วมคิดในการ
รุกรานเมือง หรือการไม่เชื่อฟังต่อต้านประเทศอาณานิคม นอกจากนี้ อาณานิคม ๒ แห่งที่เกี่ยวข้อง
กับการใช้โทษประหารชีวิตที่ไม่มีความรุนแรงมากนัก ได้แก่ เซาท์ เจอร์ซี และมลรัฐเพนซิลเวเนีย
โดยเซาท์ เจอร์ซี ไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตกับอาชญากรรมโดยส่วนใหญ่ ยกเว้นการกระทำาผิด
ในคดีฆาตกรรมและคดีกบฏ (Bedau, 1982)
อย่างไรก็ตาม ภายใต้อำานาจในการสั่งการจากกษัตริย์ มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
ที่กำาหนดการลงโทษอย่างรุนแรง จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๖๙๑ ต่อมา มลรัฐเพนซิลเวเนียได้มีการผ่าน
กฎหมายของตนเอง ในปี ค.ศ. ๑๖๘๒ และในปี ค.ศ. ๑๗๗๖ อาณานิคมส่วนใหญ่ได้มีการ
กำาหนดกฎหมายเกี่ยวกับการประหารชีวิตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งครอบคลุมถึง
การลักลอบวางเพลิง การปล้นอย่างโจรสลัด การกบฏ การฆาตกรรม การมีเพศสัมพันธ์
กับสัตว์หรือผิดธรรมชาติ การขโมยย่องเบา การปล้น การข่มขืน การขโมยม้า การกบฏ
ของทาส และการหลอกลวง ซึ่งรูปแบบของการประหารชีวิตที่มีการใช้ คือ การประหาร
ด้วยการแขวนคอ ต่อมา ในช่วงปลายศตวรรษ ๑๙๗๐ โรดไอส์แลนด์ เป็นอาณานิคม
แห่งเดียวที่มีการลดจำานวนของประเภทคดีที่ต้องโทษประหารชีวิต (Reggio, 2008)
ในขณะที่อาณานิคมบางแห่งมีการกำาหนดโทษประหารชีวิตที่มีความรุนแรงมากขึ้น
อาทิ มลรัฐนอร์ท แคโรไลนา กำาหนดให้มีการประหารชีวิตสำาหรับผู้กระทำาผิดในคดีฆาตกรรม
ข่มขืน การข่มขืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย การขโมยทาส การขโมยเงินหรือธนบัตร การปล้น
บนทางด่วน การขโมยย่องเบา การลักลอบวางเพลิง การตอนหรือตัดเอาลูกอัณฑะหรือรังไข่
ทั้งสองออก การมีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ การมีเพศสัมพันธ์
ในลักษณะของสัตว์ป่า การต่อสู้กันตัวต่อตัวเมื่อมีการตายเกิดขึ้น การซ่อนทาสเพื่อจะปลดปล่อย
ให้เป็นอิสระ การนำานิโกรออกนอกรัฐเพื่อจะขาย การมีภรรยาหรือสามีสองคนในเวลาเดียวกัน
การกระตุ้นหรือยุยงทาสให้กบฏ การปลุกปั่นในกลุ่มทาส การสมคบกันฆาตกรรม การปล้น
การขโมยย่องเบา การลักลอบวางเพลิง การประทุษร้ายและคดีอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ที่มลรัฐ
นอร์ท แคโรไลนา ไม่มีสถานที่ในการควบคุมตัวผู้กระทำาผิดหรือเรือนจำา จึงไม่มีทางเลือกอื่น
ที่มีความเหมาะสมกว่าการใช้โทษประหารชีวิต (Bedau, 1982)
การปฏิรูปการประหารชีวิตได้เกิดขึ้นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ. ๑๗๗๖ – ๑๘๐๐
โดย เจฟสัน และคณะได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของมลรัฐเวอร์จิเนีย และเสนอให้มีการใช้
โทษประหารชีวิตสำาหรับการกระทำาผิดในคดีกบฏและฆาตกรรม หลังจากที่มีการโต้เถียงกัน
ในการประชุม ในที่สุดสภานิติบัญญัติพ่ายแพ้ต่อการลงคะแนนเสียง สำาหรับผู้ที่มีอิทธิพลสำาคัญ
ต่อการปฏิรูปดังกล่าวที่สำาคัญยิ่ง ได้แก่ นักทฤษฎีชาวยุโรป อาทิ มองเตสกิเออร์ วอลแตร์
และเบนเธม เช่นเดียวกับการปฏิรูปเรือนจำาของอังกฤษ โดยจอห์น เบลเลอร์ และจอห์น โฮเวิร์ด
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 21