Page 40 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 40

ต่อประชากร  ๑๐๐,๐๐๐  คน  แต่ในปี  ค.ศ.  ๑๙๙๒  มีจำานวนฆาตกร  ๙.๔  คน  ต่อประชากร
                     ๑๐๐,๐๐๐ คน (Reggio, 2008)

                                 ความสำาคัญของการตัดสินประหารชีวิตได้ขึ้นอยู่กับศาลสูงสุดเป็นสำาคัญ

                     โดยจะเห็นได้จากข้ออ้างที่สำาคัญทางกฎหมายของบางมลรัฐ ดังนี้
                                 Wilkerson v. Utah 99 U.S. 130 (1878) ศาลได้สนับสนุนให้มีการประหารชีวิต
                     ด้วยการยิงเป้า  เนื่องจากการประหารชีวิตด้วยรูปแบบอื่นเป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายทารุณ

                     อาทิ  การประหารชีวิตด้วยการลาก  การดึงร่างกายโดยแยกเป็นสี่ส่วน  การควักเอาตับไต

                     ไส้พุงออกขณะที่ยังคงมีชีวิต การตัดศีรษะ การแยกร่างกายออกเป็นส่วน ๆ ในที่สาธารณะ การเผา
                     ขณะที่กำาลังมีชีวิต และการประหารในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมีความโหดร้ายทารุณ
                     และเป็นสิ่งที่ต้องห้าม

                                 Weems v. U.S. 217 U.S. 349 (1910) ศาลจะไม่ตัดสินลงโทษที่มีความโหดร้าย

                     และการลงโทษที่มีรูปแบบผิดปกติ  โดยจะไม่กำาหนดขอบเขตของการลงโทษด้วยความโหดร้าย
                     และผิดปกติว่าเป็นรูปแบบของความชั่วร้าย โดยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความหมายของการลงโทษ
                     ที่โหดร้ายและผิดปกติ

                                 Louisiana ex rel. Francis v. Resweber 329 U.S. 459 (1947) เมื่อ ๓

                     พฤษภาคม  ๑๙๔๖  นักโทษประหารในคดีอุกฉกรรจ์  ชื่อ  วิลลี่  ฟรานซิส  (Willie  Francis)
                     อายุ  ๑๗  ปี  ได้ถูกประหารชีวิตด้วยการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า  ซึ่งเมื่อได้นั่งบนเก้าอี้ไฟฟ้าและมีการ
                     กดสวิทซ์สำาหรับประหาร  ปรากฏว่าเกิดความผิดพลาดของการประหารชีวิต  แม้ว่านักโทษ

                     ดังกล่าวจะมีอาการช็อคอย่างรุนแรง  แต่นักโทษประหารยังคงมีชีวิตอยู่  จึงได้มีการนำาตัว

                     นักโทษประหารดังกล่าวจากเก้าอี้ไฟฟ้าไปยังห้องขัง  ต่อมาได้มีการพิจารณาการประหารใหม่
                     เกิดขึ้นภายหลัง ๖ วันหลังจากนั้น ซึ่งคณะผู้พิพากษา ๕ ต่อ ๔ เห็นว่าการประหารชีวิตที่เกิดขึ้น
                     ไม่ได้เป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายทารุณหรือมีความผิดปกติแต่อย่างใด  เพื่อให้การดำาเนินการ

                     ประหารชีวิตได้เสร็จสิ้นตามคำาพิพากษา  ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นที่ตามมาจากการประหารชีวิต

                     ดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เป็นความโหดร้ายที่มีความจำาเป็นในการทำาให้มนุษย์เสียชีวิตจากการประหาร
                     ดังนั้น นักโทษประหารชีวิตดังกล่าวจึงต้องถูกประหารชีวิต
                                 Tropp v. Dulles 356 U.S. 86 (1958) ศาลได้มีระเบียบว่า การลงโทษผู้กระทำาผิด

                     ที่ต้องโทษประหารชีวิตจะต้องพิจารณาถึงความโหดร้ายและความผิดธรรมดา  หากผู้ใดต้องพบกับ

                     ความทุกข์ทรมาน  ความโหดร้ายที่รุนแรงมากเกินไป  หรือการลงโทษที่ผิดธรรมดา  จะต้องไม่มี
                     การปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามความเจริญก้าวหน้าของสังคม
                                 Furman v. Georgia 408 U.S. 238 (1972) ศาลได้พิจารณาถึงการลงโทษประหารชีวิต

                     จะต้องไม่มีความโหดร้ายทารุณหรือผิดธรรมดา โดยมีความเกี่ยวข้องกับกรณีต่อไปนี้











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 27
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45