Page 35 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 35
โดยเฉพาะผลงานของซีซาร์ แบคคาเรีย ที่เขียนไว้ชื่อ “อาชญากรรมและ
การลงโทษ” (On Crimes and Punishment) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๗๖๗ ที่มีการนำาเสนอ
ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตได้มีอิทธิพลสำาคัญยิ่งต่อแนวคิดของประเทศสหรัฐอเมริกา
ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งซีซาร์ แบคคาเรีย ได้กล่าวไว้ว่า รัฐไม่มีอำานาจที่จะทำาให้
บุคคลใดเสียชีวิต การประหารชีวิตเปรียบเสมือนสงครามสำาหรับพลเมือง โดยการทำาลายชีวิต
ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าบุคคลใดมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ซึ่งสามารถใช้หลักเกณฑ์ใด
ในการพิจารณาดังกล่าว โดยซีซาร์ แบคคาเรีย ได้ยอมรับการเสียชีวิตซึ่งเป็นการสร้าง
ความปลอดภัยให้แก่สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากในสังคมและจะเกิดได้ในกรณีที่สังคม
มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่มีรัฐบาลและเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย
โดยพลเมืองมีแนวโน้มที่จะสูญเสียเสรีภาพ ซีซาร์ แบคคาเรีย ได้ชี้ให้เห็นถึงการลงโทษ
ประหารชีวิต ในสมัยโรมันที่ไม่ได้เป็นการป้องกันความปลอดภัยให้แก่คนในสังคมได้อย่างแท้จริง
การประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ช่วยยับยั้งการกระทำาผิดของคนได้เพียงชั่วขณะเท่านั้น แต่ไม่สามารถ
ยับยั้งการกระทำาผิดของคนอื่นในสังคมได้อย่างแท้จริง นอกจากเป็นการจำากัดเสรีภาพ
ของผู้ถูกประหารชีวิตเท่านั้น (Reggio, 2008)
ได้มีการดำาเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิตและการปรับปรุงสภาพเรือนจำา
ให้ดีขึ้นหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จาก ดร.เบนจามิน รัช พลเมืองที่มีชื่อเสียง
ของมลรัฐเพนซิลเวเนียได้เสนอให้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต วิลเลียม เบรดฟอร์ด
ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความจำาเป็นของการใช้โทษประหารชีวิตในมลรัฐเพนซิลเวเนียว่า
มีความจำาเป็นมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้ยืนยันให้มีการใช้โทษประหารชีวิตต่อไป แต่ก็ยอมรับว่า
โทษประหารชีวิตไม่สามารถป้องกันอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง และเห็นว่าโทษประหารชีวิต
เป็นการตัดสินที่มีความรุนแรงกว่าโทษที่ควรจะได้รับ เพราะในมลรัฐเพนซิลเวเนียและทุกมลรัฐ
เมื่อมีการตัดสินประหารชีวิต คณะลูกขุน และกฎหมายที่กำาหนดไว้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
คำาตัดสินได้ ดังนั้น ในปี ค.ศ. ๑๗๙๔ มลรัฐเพนซิลเวเนียได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
สำาหรับทุกประเภทคดี ยกเว้นคดีฆาตกรรมซึ่งเป็นความผิดประเภทชั้นหนึ่ง ต่อมา ในปี ค.ศ. ๑๗๙๖
เมืองนิวยอร์ค ได้มีการก่อสร้างทัณฑสถานและมีการยกเลิกการเฆี่ยน รวมทั้งมีเปลี่ยนแปลง
กำาหนดโทษที่ต้องประหารชีวิต จาก ๑๓ คดี ลดลงเหลือ ๒ คดี นอกจากนี้ มลรัฐเวอร์จิเนีย
และมลรัฐเคนตั้กกี้ได้ผ่านกฎหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ในปี ค.ศ. ๑๗๙๗ มลรัฐเวอร์มอนต์
ได้ลดคดีที่ต้องโทษประหารชีวิตเหลือ ๓ คดี ปี ค.ศ. ๑๘๑๐ มลรัฐแมรี่แลนด์ได้ลดคดีที่ต้องโทษ
ประหารชีวิตเหลือ ๔ คดี ในปี ค.ศ. ๑๘๑๒ มลรัฐนิวแฮมเชียร์ได้ลดคดีที่ต้องโทษประหารชีวิต
เหลือ ๒ คดี และปี ค.ศ. ๑๘๑๕ มลรัฐโอไฮโอได้ลดคดีที่ต้องโทษประหารชีวิตเหลือ ๒ คดี
ซึ่งแต่ละมลรัฐดังกล่าวได้มีการก่อสร้างเรือนจำาหรือทัณฑสถานควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีมลรัฐ
จำานวนน้อยที่ดำาเนินการสวนกระแสดังกล่าว อาทิ มลรัฐโรดไอแลนด์ ยังคงโทษประหารชีวิตสำาหรับ
ผู้กระทำาผิดในคดีข่มขืนและลอบวางเพลิง มลรัฐแมทซาชูเซ็ตส์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ และมลรัฐ
22 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ