Page 33 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 33
สรรพสามิต อย่างไรก็ตาม คณะลูกขุนมีแนวโน้มที่จะไม่ตัดสินว่ากระทำาผิดเมื่อมีการลงโทษ
ที่รุนแรงและไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากรรม การปฏิรูปการลงโทษได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๒๓
โดยมีกฎหมาย ๕ ประเด็น ที่ผ่านมา ทำาให้มีการยกเลิกการประหารชีวิตที่เกิดจากการประกอบ
อาชญากรรม ประมาณ ๑๐๐ คดี ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๓๒ – ๑๘๓๗ ได้มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตอีกจำานวนมาก แม้ว่าในปี ค.ศ. ๑๘๔๐ จะประสบความล้มเหลวจากการยกเลิก
โทษประหารชีวิต แต่ในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับคดีต่าง ๆ
ที่เคยกำาหนดไว้เป็นจำานวนมาก ซึ่งไม่ได้มีความพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิตแต่ในประเทศ
อังกฤษเท่านั้น หากแต่ได้มีความพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วทั้งยุโรป จนกระทั่งในปัจจุบัน
มีประเทศในยุโรปจำานวนน้อยที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต (Reggio, 2008)
บันทึกเกี่ยวกับการประหารชีวิตของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคม
ของอังกฤษเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๖๐๘ เมื่อมีการประหารชีวิต จอร์จ เคนดอลล์ ในมลรัฐเวอร์จิเนีย
อย่างเป็นทางการ สำาหรับการกล่าวหาต่อการวาดแผนที่ที่ไม่ถูกต้องจากประเทศอังกฤษไปยัง
ประเทศสเปนในปี ค.ศ. ๑๖๑๒ ผู้ว่าการมลรัฐเวอร์จิเนีย คือ โธมัส เดล ได้ทำาให้กฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับศาสนา ศีลธรรม และกฎอัยการศึก กำาหนดให้การใช้โทษประหารชีวิตแม้กระทั่ง
ต่อความผิดในคดีเล็กน้อย เช่น การขโมยองุ่น ฆ่าไก่ สุนัข หรือม้า โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ
การค้าขายกับประเทศอินเดีย หลังจากนั้น ๗ ปี กฎหมายที่กำาหนดมีความเข้มงวดน้อยลง
เนื่องจากเกรงว่าจะไม่มีใครกล้าตั้งถิ่นฐานที่มลรัฐดังกล่าว (Lyons, 2003)
ใน ค.ศ. ๑๖๒๒ ได้มีการกำาหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตอาชญากรขึ้น
เป็นครั้งแรกในมลรัฐเวอร์จิเนีย สำาหรับคดีขโมยสำาหรับเดเนียล แฟรงค์ อาจกล่าวได้ว่า
ประเทศในอาณานิคมของประเทศอังกฤษบางประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประหาร
ชีวิตที่เข้มงวด ในขณะที่บางประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดน้อยกว่า โดยในปี ค.ศ. ๑๖๓๐
มลรัฐแมทซาชูเซ็ตส์ได้มีการใช้โทษประหารชีวิตเป็นครั้งแรก แต่กฎหมายที่กำาหนดเป็นลายลักษณ์
อักษรเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตไม่มีปรากฏให้เห็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ในขณะที่กฎหมาย
เกี่ยวกับการประหารชีวิตมีผลเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. ๑๖๓๖ – ๑๖๔๗ ได้มีการกำาหนดขอบเขต
ของโทษประหารชีวิตสำาหรับการกระทำาผิดในคดีการฆาตกรรมโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การมี
เพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือผิดธรรมชาติ การใช้เวทมนตร์คาถา การเป็นชู้ การบูชารูปปั้น หรือ
การคลั่งลัทธิทางศาสนา การทำาร้ายด้วยความโกรธ การข่มขืน การขโมย การเบิกความเท็จ
การกบฏ การฆาตกรรมโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน การวางยาพิษ และการมีพฤติกรรมโหดร้าย
ในปี ค.ศ. ๑๗๘๐ กฎหมายของมลรัฐแมทซาชูเซ็ตส์ได้กำาหนดให้มีโทษประหารชีวิตสำาหรับ
การกระทำาผิด ๗ คดี ได้แก่ การฆาตกรรม การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือผิดธรรมชาติ
การขโมยย่องเบา การลอบวางเพลิง การข่มขืน และการกบฏ (Reggio, 2008)
สำาหรับอาณานิคมนิวยอร์ค ได้มีกฎหมายดูค ในปี ค.ศ. ๑๖๖๕ การประหารชีวิต
เนื่องจากเป็นการปฏิเสธจากพระเจ้าสำาหรับบุคคลดังกล่าว ในคดีการฆาตกรรมโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
20 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ