Page 41 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 41
๑. มีความรุนแรงมากเกินไปสำาหรับอาชญากรรมนั้น
๒. การประหารชีวิตที่ไร้เหตุผลตามอำาเภอใจ โดยบางคนถูกลงโทษ ในขณะที่
บางคนไม่ถูกลงโทษ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
๓. ความรู้สึกของสังคมต่อความยุติธรรมที่มีต่อผู้กระทำาผิด
๔. เป็นการลงโทษที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการลงโทษ
ที่ไม่รุนแรง
Gregg v. Georgia 428 U.S. 153 (1976) ศาลได้สนับสนุนให้มีการผ่านกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตใหม่อีกครั้ง และเห็นว่าการประหารชีวิตไม่ได้เป็นการลงโทษ
ที่มีความโหดร้ายทารุณ หรือการลงโทษที่ผิดธรรมดา
Tison v. Arizona 481 U.S. 137 (1987) ศาลได้สนับสนุนให้มีการใช้โทษ
ประหารชีวิตสำาหรับการกระทำาผิดในคดีอุกฉกรรจ์ที่สำาคัญที่ไม่ได้ให้ความสำาคัญต่อสิทธิมนุษยชน
Thompson v. Oklahoma 108 S. Ct. 2687 (1987) ศาลได้พิจารณาถึงการ
ประหารชีวิตฆาตกรผู้ที่มีอายุต่ำากว่า ๑๖ ปี โดยเหยื่อเป็นน้องสาว ซึ่งนักโทษประหารได้ถูก
กล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ทำาร้ายร่างกายน้องสาว โดยนักโทษและพรรคพวกอีก ๓ คน ได้ทำาร้ายร่างกายเหยื่อ
และยิงซ้ำา ตัดคอหอย แทงทรวงอกและช่องท้อง ผูกมัดด้วยอิฐคอนกรีตและโยนศพไปในแม่น้ำา จนกระทั่ง
ผ่านไป ๔ สัปดาห์ จึงพบศพ ผู้กระทำาผิดทั้ง ๔ คน ได้ต้องโทษประหารชีวิตและมีการแยกควบคุมตัว
โดยผู้พิพากษา จำานวน ๕ ต่อ ๓ ได้เห็นว่าการตัดสินประหารชีวิตทอมป์สันเป็นการลงโทษ
ที่มีความโหดร้าย และผิดธรรมดา โดยเห็นว่าควรมีการกำาหนดอายุขั้นต่ำาของผู้ที่ต้องโทษประหาร
ชีวิต โดยรัฐควรรีบเร่งในการออกกฎหมายกำาหนดอายุขั้นต่ำาของผู้ต้องโทษประหารชีวิต
Penry v. Lynaugh 492 U.S. [sic] (1989) ศาลได้กำาหนดว่าผู้กระทำาผิดที่พิจารณา
เห็นว่าเป็นผู้ที่ปัญญาอ่อน แต่มีสติหรือสุขภาพจิตดี ตามกฎหมายควรต้องโทษประหารชีวิต
ซึ่งวิธีการลงโทษดังกล่าวไม่ใช่เป็นวิธีการที่มีความโหดร้ายหรือผิดธรรมดา ภายใต้กฎหมาย
ที่คณะลูกขุนได้พิจารณาให้โอกาสในสถานการณ์ดังกล่าวให้เบาบางลง ในกรณีนี้ผู้กระทำาผิด
มีอายุสมองเทียบเท่ากับอายุสมองของเด็กอายุ ๖ ขวบ
ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะใช้โทษประหารชีวิตน้อยลง โดยได้มี
ผู้สนับสนุนให้ผู้ต้องโทษประหารชีวิตได้รับโทษจำาคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการพักการลงโทษ
แทนโทษประหารชีวิต (Reggio, 2008)
รูปแบบก�รประห�รชีวิต
การใช้โทษประหารชีวิตมีมาเป็นระยะเวลานานตามที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ดังกล่าว
ข้างต้น สำาหรับรูปแบบของการใช้โทษประหารชีวิตซึ่งปรากฏจากบันทึกในประวัติศาสตร์ ปรากฏว่า
ชนเผ่าพื้นเมืองจำานวนมากได้มีการใช้โทษประหารชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม
การลงโทษของชุมชนสำาหรับผู้กระทำาผิดประกอบด้วย การจ่ายค่าชดเชยจากผู้กระทำาผิด
28 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ