Page 37 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 37

มลรัฐโรดไอแลนด์ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ซึ่งนำาโดยผู้ที่เคร่งศาสนา  ในปีเดียวกันมลรัฐ
                  แมทซาชูเซ็ตส์ได้กำาหนดให้มีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้ต้องโทษในคดีฆาตกรรมซึ่งเป็น

                  ความผิดร้ายแรงชั้นหนึ่ง และในปี ค.ศ. ๑๘๕๓ มลรัฐวิสคอนซินได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                  หลังจากที่มีการประหารชีวิตที่น่ากลัว  เนื่องจากเหยื่อที่ยังมีความโกรธแค้นต่อนักโทษได้เข้าไป
                  ดึงเชือกที่ตะแลงแกงในเวลา  ๕  นาที  ก่อนที่เชือกจะทำาหน้าที่แขวนคอนักโทษที่ถูกประหาร
                  ได้สิ้นสุดลง  ทำาให้นักโทษประหารต้องใช้ระยะเวลานานถึง  ๑๘  นาที  ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจ

                  (Hagan, 1989)

                               ในระหว่างครึ่งศตวรรษหลังของการยกเลิกโทษประหารชีวิต หลายมลรัฐได้มีการ
                  ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยหลายมลรัฐได้ออกกฎหมาย
                  ให้มีการใช้ดุลพินิจในการใช้โทษประหารชีวิตตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๙๕ ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการ

                  รักษาชีวิต หากแต่เพื่อเพิ่มการลงโทษและประหารชีวิตฆาตกร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการให้มี

                  การยกเลิกโทษประหารชีวิตยังคงได้รับชัยชนะบ้าง  โดยมลรัฐเมน  (Maine)  ได้มีการยกเลิก
                  โทษประหารชีวิต  ต่อมา  มีการกลับมาใช้และมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตอีกครั้ง  ในระหว่าง
                  ปี ค.ศ. ๑๘๗๖ - ๑๘๘๗ นอกจากนี้ มลรัฐไอโอวาได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นระยะเวลา

                  ๖  ปี  และมลรัฐแคนซัสได้มีการออกกฎหมายการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ซึ่งมีการปฏิบัติ

                  อย่างจริงจังในการยกเลิกโทษประหารชีวิต (Hagan, 1989)
                               ต่อมา  ได้มีการประหารชีวิตในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศ
                  สหรัฐอเมริกา คือ การประหารชีวิตด้วยการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า โดยบริษัท เอดิสัน ได้เสนอทางเลือก

                  ในการประหารชีวิตรูปแบบใหม่  โดยมีการนำาเสนอการประหารชีวิตด้วยไฟฟ้าโดยใช้สัตว์ทดลอง

                  ซึ่งประชาชนได้ให้เหตุผลว่าหากการประหารชีวิตด้วยไฟฟ้าสามารถกระทำาได้ต่อสัตว์  การประหาร
                  ดังกล่าวย่อมสามารถกระทำาได้ต่อมนุษย์เช่นเดียวกัน  โดยในปี  ค.ศ.  ๑๘๘๘  มลรัฐนิวยอร์ค
                  ได้มีการรื้อตะแลงแกงสำาหรับการประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ  และมีการนำาการประหารชีวิต

                  ด้วยเก้าอี้ไฟฟ้ามาใช้เป็นครั้งแรกโดยนักโทษประหารที่ต้องโทษประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า

                  คนแรก  คือ  วิลเลี่ยม  เคลมเมอร์  ในปี  ค.ศ.  ๑๘๙๐  แม้ว่าการประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า
                  ในครั้งแรกจะมีความยุ่งยากบ้าง  แต่ต่อมาหลายมลรัฐได้มีการประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าตามมา
                  เช่นเดียวกัน (Hagan, 1989)

                               การปฏิรูปการประหารชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง

                  ในระหว่างปี  ค.ศ.  ๑๘๙๕  –  ๑๙๑๗  โดยในปี  ค.ศ.  ๑๘๙๗  สภาคองเกรสได้ผ่านกฎหมาย
                  ลดจำานวนการตายจากอาชญากรรม  ต่อมา  ในปี  ค.ศ.  ๑๙๐๖  มลรัฐแคนซัสได้มีการยกเลิก
                  โทษประหารชีวิต  นอกจากนี้ระหว่างปี  ค.ศ.  ๑๙๑๑  –  ๑๙๑๗  ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                  ใน  ๘  มลรัฐ  ได้แก่  มินนิโซตา  นอร์ท  ดาโกตา  เซาท์  ดาโกตา  โอเรกอน  แอริโซนา  มิสซูริ

                  และเทนเนสซี  โดยในระยะหลังมลรัฐเหล่านี้ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับคดีทุกประเภท








        24     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42