Page 32 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 32

สำาหรับประเทศอังกฤษได้มีอิทธิพลต่อประเทศในอาณานิคมมากกว่า
                     ประเทศที่ล่าอาณานิคมอื่น  ๆ  และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเกี่ยวกับการใช้โทษประหารชีวิต

                     โดยประมาณ  ๔๕๐  ปี  ก่อนคริสตศักราช  ได้มีการประหารชีวิตผู้กระทำาผิดด้วยการโยนลงไป

                     ในบ่อเลน ประมาณศตวรรษที่ ๑๐ ได้มีการประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่ตะแลงแกง ซึ่งเป็น
                     วิธีการประหารชีวิตที่มีการใช้มากที่สุด  อย่างไรก็ตาม  พระเจ้าวิลเลี่ยมผู้พิชิตไม่เห็นด้วย
                     กับการประหารชีวิต  ยกเว้นในกรณีที่มีสงคราม  และได้สั่งยกเลิกการประหารชีวิตสำาหรับ

                     การกระทำาผิดทุกประเภทคดี  แต่อนุญาตให้มีการตัดอวัยวะของอาชญากรตามความเหมาะสม

                     ของการกระทำาผิด  ในยุคกลางจะมีการทรมานควบคู่กับการประหารชีวิต  ผู้ถูกประหารจะถูก
                     โยนลงไปในบ่อเช่นเดียวกับตะแลงแกง  โดยมีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้ที่กระทำาผิด
                     ในคดีรุนแรงเช่นเดียวกับในคดีที่มีความรุนแรงรองลงมา  ดังตัวอย่างของการประหารชีวิต

                     ในปี  ค.ศ.  ๑๒๗๙  มีการประหารชีวิตชาวยิว  จำานวน  ๒๘๙  คน  โดยการแขวนคอ  เนื่องจาก

                     กระทำาผิดด้วยการตัดหรือทำาลายเหรียญที่สำาคัญ  และในสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่  ๑  ได้มี
                     การประหารชีวิตยามรักษาประตูเมือง  จำานวน  ๒  คน  เนื่องจากประตูเมืองไม่สามารถปิดได้
                     ทันเวลาเพื่อเป็นการป้องกันการหลบหนีของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร  นอกจากนี้  มีการ

                     ประหารชีวิตเพศหญิงที่ต้องโทษคดีกบฏสูงสุดด้วยการเผาไฟ  สำาหรับเพศชายจะมีการ

                     ประหารชีวิตด้วยวิธีแขวนคอ การถูกดึงหรือลากตัว การแบ่งร่างกายเป็นสี่ส่วน แล้วลากด้วยม้า
                     โดยการประหารด้วยการตัดศีรษะเป็นวิธีการประหารชีวิตสำาหรับชนชั้นสูงในสังคม  นอกจากนี้
                     ยังมีการประหารชีวิตด้วยการเผาไฟสำาหรับผู้ที่แต่งงานกับชาวยิว  การกดทับจะนำามาใช้สำาหรับ

                     ผู้ที่ไม่สารภาพว่ากระทำาผิด  โดยเพชฌฆาตจะนำาอุปกรณ์ที่มีน้ำาหนักมากดทับที่ทรวงอก

                     ของผู้ถูกกล่าวหา  ในวันแรกเพชฌฆาตจะนำาขนมปังเพียงเล็กน้อยมาให้รับประทาน  วันที่สอง
                     จะนำาน้ำาดื่มที่สกปรกมาให้ดื่ม  และจะมีการทรมานดังกล่าวจนกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะรับสารภาพหรือ
                     เสียชีวิต  นอกจากนี้  ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่  ๘  มีจำานวนผู้ต้องโทษประหารชีวิต

                     สูงถึง  ๗๒,๐๐๐  คน  สำาหรับรูปแบบของการประหารชีวิตที่เริ่มนำามาใช้ในปี  ค.ศ.  ๑๕๓๑  ได้แก่

                     การประหารชีวิตด้วยการต้มในน้ำาเดือด  ซึ่งมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่ามีการต้มผู้ที่
                     ถูกประหารชีวิตบางคนเป็นระยะเวลานานถึง  ๒  ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต  สำาหรับเพศหญิงที่ถูก
                     ประหารชีวิต เพชฌฆาตจะมีการผูกเชือกรอบคอเพื่อนำาไปผูกกับหลักประหาร เมื่อเปลวไฟได้ถึงตัว

                     ผู้ถูกประหารจะเป็นการบังคับไม่ให้ผู้ถูกประหารหนีออกจากเปลวไฟไปได้  อย่างไรก็ตาม  มีการ

                     ประหารชีวิตด้วยวิธีนี้จำานวนมากที่ล้มเหลวไม่สามารถทำาให้ผู้ถูกประหารชีวิตเสียชีวิต  (Reggio,
                     2008)
                                 สำาหรับการประหารชีวิตในประเทศอังกฤษยังคงมีจำานวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง

                     ปี ค.ศ. ๑๗๐๐ เมื่ออาชญากรรมจำานวน ๒๒๒ ประเภทคดี ได้ถูกกำาหนดให้ต้องโทษประหารชีวิต

                     ซึ่งรวมทั้งการขโมยของจากบ้านที่มีมูลค่าตั้งแต่  ๔๐  ชิลลิง  การขโมยของจากร้านค้าที่มีมูลค่า
                     ๕  ชิลลิง  การปล้นกระต่ายที่เลี้ยงไว้ในทุ่งจำานวนมาก  การตัดต้นไม้  การปลอมแปลงแสตมป์






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 19
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37