Page 30 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 30
โทษกักขัง การลงโทษด้วยการตัดอวัยวะ เพื่อไม่ให้ผู้กระทำาผิดสามารถใช้อวัยวะดังกล่าวในการ
กระทำาผิดได้อีก และการลงโทษสูงสุด คือ การประหารชีวิต อันเป็นการป้องกันพฤติกรรมอาชญากร
อย่างถาวร (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)
- ทฤษฎีเพื่อปรับปรุงผู้กระทำ�ผิด (Reformation Theory)
เป็นการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด เนื่องจากแนวคิดของสำานักปฏิฐานนิยม
(Positive School) ที่เห็นว่า คนทุกคนเกิดมาเปรียบเสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ แต่สภาพแวดล้อมทำาให้
ผ้าขาวต้องมีรอยมลทิน หรือทำาให้คนต้องกระทำาผิด ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่าอาชญากรสามารถแก้ไขฟื้นฟู
เพื่อให้กลับเป็นคนดีคืนสู่สังคมได้ การลงโทษจึงเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไข
ฟื้นฟูปรับปรุงตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การฝึกวิชาชีพ หรือการจัดโปรแกรมที่มีความเหมาะ
สมกับผู้กระทำาผิดแต่ละประเภทคดี (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)
โดยแนวคิดด้านการลงโทษและการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดของนักโทษประหาร
ก็เช่นเดียวกัน ได้มีแนวโน้มในการใช้แนวคิดเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากประเทศ
ส่วนใหญ่ทั่วโลก มีแนวโน้มในการยกเลิกโทษประหาร รวมทั้งหลายประเทศแม้จะยังคง
โทษประหาร หากแต่มีการประหารชีวิตจริงไม่มาก อันแสดงให้เห็นถึงทิศทางหรือแนวโน้ม
ของการใช้โทษประหารของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหาร
ที่มากขึ้น เนื่องจากแนวคิดของการลงโทษ หรือการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่มีแนวโน้มในการ
แก้ไขฟื้นฟู เพราะเชื่อว่าผู้ที่กระทำาผิดเป็นผู้ที่ถูกสภาพแวดล้อมบีบบังคับ ไม่ได้เป็นผู้ที่เกิดมา
เพื่อเป็นอาชญากร หรือเป็นผู้ที่เป็นอาชญากรโดยกมลสันดานที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย
๒.๒ พัฒน�ก�รเกี่ยวกับก�รลงโทษประห�รชีวิตในประเทศไทย
และต่�งประเทศ
๒.๒.๑ ประวัติ แนวคิด และพัฒน�ก�รในประเทศไทยและต่�งประเทศ
สำาหรับประวัติ แนวคิด และพัฒนาการของโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
และต่างประเทศ ได้แก่
วิวัฒน�ก�รเกี่ยวกับโทษประห�รชีวิต
การประหารชีวิต คือ การลงโทษโดยการทำาให้เสียชีวิตโดยรัฐ เนื่องจากการประกอบ
อาชญากรรมของผู้ถูกประหาร คำาว่า “Capital” มีต้นกำาเนิดมาจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่าเกี่ยวกับศีรษะ
ดังนั้น ต้นกำาเนิดของโทษประหารชีวิต คือ การลงโทษด้วยการตัดศีรษะ (Capital Punishment,
2009)
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 17