Page 29 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 29

ตามแนวคิดของทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract) รัฐจึงมีความชอบธรรมโดยความยินยอม
                  ของประชาชนที่จะใช้อำานาจออกกฎหมายควบคุมบุคคลในสังคม  สำานักนี้มีความเชื่อในทฤษฎี

                  “เจตจำานงอิสระ” (Free Will) ที่ว่า “มนุษย์มีอิสระที่จะคิด และกระทำาการใด ๆ ตามความคิด

                  และการใช้เหตุผลของตนเอง ดังนั้น เมื่อมนุษย์กระทำาการใด ๆ จึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำา
                  ของตนเอง เมื่อกระทำาความผิดจึงต้องถูกลงโทษ”



                             เบ็คคาเรีย เป็นผู้ให้กำาเนิดทฤษฎีการลงโทษเพื่อป้องกันสังคม คือ “ทฤษฎีการข่มขู่ยับยั้ง”

                  (Deterrence Theory) โดยเห็นว่า การลงโทษควรมีไว้เพื่อป้องกันสังคมโดยการข่มขู่ยับยั้งผู้ที่คิดจะ
                  กระทำาผิดให้เกรงกลัวโทษ การข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence) แบ่งออกเป็น การข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะ
                  (Specific  Deterrence)  ซึ่งเป็นการลงโทษผู้กระทำาผิดรายบุคคลเพื่อยับยั้งมิให้เขากระทำาผิดซ้ำา

                  และการข่มขู่ยับยั้งโดยทั่วไป (General Deterrence) เป็นการลงโทษผู้กระทำาผิดเพื่อเป็นตัวอย่าง

                  แก่บุคคลอื่นในสังคมทั่วไปได้เห็นโทษของการกระทำาผิด เพื่อจะได้ยับยั้งไม่กระทำาผิด (พรชัย ขันตี
                  และคณะ, ๒๕๔๓)



                             ในด้านการลงโทษ นักปรัชญาและนักกฎหมายเหล่านี้ เสนอการลงโทษให้เหมาะสม

                  กับความผิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เน้นการนำาโทษจำาคุกมาใช้แทนการลงโทษรูปแบบอื่น  ๆ  เช่น
                  เนรเทศ ทรมานร่างกาย หรือประหารชีวิต โดยเน้นไปที่วัตถุประสงค์เพื่อยับยั้ง ป้องกันและแก้ไข
                  ปรับปรุงผู้กระทำาผิดซึ่งการลงโทษที่จะให้ได้ผลดังกล่าวนี้  จะต้องกระทำาอย่างรวดเร็ว  แน่นอน

                  มีเอกภาพ และเหมาะสมกับความผิด (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)



                             นอกจากนี้ ทฤษฎีนี้ยังสามารถจำาแนกเพิ่มเติมได้ ดังนี้
                           -  ทฤษฎีก�รลงโทษเพื่อข่มขู่อ�ชญ�กร (Deterrence Theory)

                              ทฤษฎีนี้ถือว่า การลงโทษจะทำาให้ผู้กระทำาผิดเข็ดหลาบ และคนอื่นไม่กล้าจะกระทำา

                  ความผิดเพราะกลัวถูกลงโทษ ทฤษฎีนี้สามารถแบ่งเป็นทฤษฎีย่อยได้ ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีข่มขู่
                  เฉพาะราย (Specific deterrence Theory) เป็นการลงโทษเพื่อข่มขู่ตัวผู้กระทำาผิดไม่ให้กระทำาผิด
                  อีกต่อไป เพราะกลัวจะถูกลงโทษ ทฤษฎีข่มขู่โดยทั่วไป (General deterrence Theory) เป็นการ

                  ลงโทษที่ข่มขู่บุคคลอื่นในสังคมเพื่อไม่ให้ประกอบอาชญากรรม และทฤษฎีข่มขู่ระยะยาว (Long term

                  deterrence  Theory)  เป็นการลงโทษจำาคุกระยะยาว  รวมทั้งการให้การศึกษาทางศีลธรรมแก่
                  ผู้กระทำาผิด (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)
                           -  ทฤษฎีก�รลงโทษเพื่อป้องกันอ�ชญ�กรรม (Crime Prevention Theory)

                              เป็นการลงโทษเพื่อตัดโอกาสในการกระทำาผิดของอาชญากร  (Incapacitation)

                  มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ผู้กระทำาผิดกระทำาผิดอีกต่อไป  สำาหรับมาตรการในการลงโทษเพื่อป้องกัน
                  อาชญากรรม ประกอบด้วย การจำาคุกหรือกักขัง เพื่อป้องกันการกระทำาผิดตลอดระยะเวลาที่ต้อง






         16    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34