Page 28 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 28

วิทยาคลาสสิค ซึ่งประกอบด้วย ทฤษฎีเจตจำานงอิสระ (Free Will) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเจตจำานง
                     อิสระในการกระทำาสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์เสมอ  โดยมนุษย์จะมีเหตุผล

                     ในการเลือกการกระทำา และสอดคล้องทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism Philosophy)

                     ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นเนื่องจากได้พิจารณาถึงผลที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                     ดังนั้น  การลงโทษด้วยการประหารชีวิตในสังคมจะมีความสอดคล้องกับทฤษฎีเจตจำานงอิสระ
                     (Free  Will)  ทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม  (Utilitarianism  Philosophy)  และสัญญาประชาคม

                     (Social  Contract)  ที่การลงโทษประหารชีวิต  เพื่อให้บุคคลในสังคมเห็นว่าไม่ควรประกอบ

                     อาชญากรรม  หรือการละเมิดต่อสัญญาประชาคมที่ได้กำาหนดไว้  เพราะโทษประหารชีวิต
                     เป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการกระทำาผิด  หากแต่ยังทำาให้มนุษย์ต้องเสียประโยชน์
                     อันสูงสุดของชีวิต  คือ  การสูญเสียชีวิตเพื่อแลกกับการละเมิดสัญญาประชาคมที่ได้กำาหนดไว้

                     ดังนั้น  การใช้โทษประหารชีวิตตามแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นจึงจำาเป็นต้องมีในสังคม  เพื่อให้

                     สมาชิกของสังคมได้เกิดความเกรงกลัวอันจะนำาไปสู่ความสงบสุขของสังคมเป็นสำาคัญ


                             ๓)  ทฤษฎีก�รลงโทษเพื่อยับยั้งหรือป้องกันอ�ชญ�กรรม  หรือปรับปรุงผู้กระทำ�ผิด

                     (Restraint Theory)

                               นักปรัชญาและนักกฎหมายในยุโรป  อาทิ  ซีซาร์  เบ็คคาเรีย  (Cesare  Beccaria,
                     1728 – 1794) และเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham, 1748 – 1832) ซึ่งเป็นผู้นำาของ
                     สำานักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา  สำานักอาชญาวิทยาคลาสสิค  และนีโอ-คลาสสิค  ได้เสนอ

                     แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรม และการลงโทษผู้กระทำาผิดขึ้นใหม่ โดยเชื่อว่าผู้กระทำาผิด

                     ได้กระทำาผิดโดยเจตนาเพื่อแสวงหาความสุข  และหลีกเลี่ยงความทุกข์  ดังนั้น  รัฐควรจะบัญญัติ
                     กฎหมายไว้ให้ชัดเจนว่าการกระทำาใดเป็นความผิด  และมีโทษบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง  เพื่อให้ทุกคน
                     ในสังคมได้รับทราบ  เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วเช่นนี้  ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะมีความผิดและต้องรับโทษ

                     ตามกฎหมาย (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)



                               โดยผู้นำาคนสำาคัญของสำานักนี้  คือ  ซีซาร์  เบ็คคาเรีย  เป็นผู้ที่ลุกขึ้นมาคัดค้าน
                     การใช้อำานาจรัฐในการลงโทษที่ทารุณโหดร้ายและไม่เป็นธรรม  โดยเฉพาะการลงโทษประหารชีวิต

                     ซึ่งผู้มีอำานาจปกครองและผู้นำาทางศาสนาใช้เป็นเครื่องมือในการกำาจัดฝ่ายตรงข้าม  หรือผู้ที่มี

                     ความคิดคัดค้าน  และได้ลงโทษประหารชีวิตประชาชนไปเป็นจำานวนมาก  โดยไม่มีการไต่สวน
                     ที่เป็นธรรม  เบ็คคาเรียเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการยุติธรรม  โดยเสนอให้
                     ผู้พิพากษามีอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาความผิดของจำาเลยเพียงอย่างเดียว  แต่ไม่ให้มีอำานาจ

                     ในการกำาหนดระวางโทษ  และการออกกฎหมายควรเป็นอำานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น

                     นักปรัชญาของสำานักอาชญาวิทยาคลาสสิคมีแนวคิดว่า รัฐได้อำานาจการปกครองมาจากประชาชน








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 15
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33