Page 27 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 27
(Capital Punishment) ที่รัฐและผู้ปกครองลงโทษประชาชนโดยไม่มีหลักกฎหมาย ไม่มีบรรทัดฐาน
และไม่มีความแน่นอน อาศัยอคติการตัดสินด้วยความรู้สึก และความเชื่อทางศาสนาที่ขาด
ความชอบธรรม แบ็คคาเรียเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
หลักการของเบ็คคาเรียเกี่ยวกับการลงโทษนั้นมีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎี
อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism Philosophy) คือ “ประโยชน์สูงสุดสาหรับปวงชนจำานวน
มากที่สุด” โดยการลงโทษในสังคมมีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อ “การมุ่งคุ้มครองประโยชน์สูงสุด
ของคนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นสำาคัญ” ซึ่งแบ็คคาเรียนำามาใช้ในข้อเสนอเกี่ยวกับอาชญากรรม
และการลงโทษ โดยมุ่งป้องกันสังคมจากภยันตรายของอาชญากรรมด้วยการข่มขวัญยับยั้ง
ความคิดของเบ็คคาเรีย ตามที่ปรากฏในหนังสือ “On Crimes and Punishments”
ในเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษเพื่อการป้องกัน (Preventive Punishment) มีดังนี้
(๑) การลงโทษมีความจำาเป็น เนื่องจากมนุษย์ยังมีความเห็นแก่ตัว พร้อมที่จะฝ่าฝืน
สัญญาประชาคม ถ้าหากการกระทำานั้นก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว สำาหรับ
เบ็คคาเรีย เห็นว่า มนุษย์ทุกคนสามารถมีพฤติกรรมอาชญากรได้เสมอ
(๒) เมื่อเป็นดังนั้น การลงโทษจึงไม่ควรปฏิเสธต่อความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
หากแต่ควรส่งเสริม “แรงจูงใจ” ไม่ให้ประโยชน์ของมนุษย์ถูกทำาลาย
โดยกฎหมาย
(๓) การลงโทษ ควรจะมีไว้เพื่อเป็นการป้องกัน โดยการใช้ความคิดเรื่องการข่มขู่
ยับยั้ง (Deterrence) ซึ่งการข่มขู่ยับยั้ง แบ่งออกเป็น
ก. การข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะ (Specific Deterrence) เป็นการลงโทษ
ผู้กระทำาผิดรายบุคคลเพื่อยับยั้งมิให้เขากระทำาผิดซ้ำา
ข. การข่มขู่ยับยั้งโดยทั่วไป (General Deterrence) เป็นการลงโทษ
ผู้กระทำาผิดเพื่อเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นในสังคมทั่วไปได้เห็นผลร้าย
ของการกระทำาผิด เพื่อยับยั้งมิให้บุคคลกระทำาผิด เพราะเกรงกลัวโทษ
ที่จะได้รับ
(๔) การข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence) เป็นการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้งการกระทำาผิด
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ๒ ประการ คือ การลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับ
อาชญากรรม และสาธารณชนจะต้องได้รับรู้ เข้าใจอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับ
การลงโทษนั้น
จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสำานักอาชญาวิทยาคลาสสิค (The Classical School of
Criminology) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism Philosophy) ทฤษฎี
สัญญาประชาคม (Social Contract) และทฤษฎีเจตจำานงอิสระ (Free Will) มีความเกี่ยวข้อง
กับการใช้โทษประหารชีวิตในสังคมโดยตรง เนื่องจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสำานักอาชญา
14 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ