Page 25 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 25
โดยวัตถุประสงค์ในการลงโทษทั้ง ๔ ประการ เป็นความคิดหรือความเชื่อของสังคม
ในยุคต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากวิธีการปฏิบัติหรือการลงโทษผู้กระทำาผิด อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์
ในการลงโทษทั้ง ๔ ข้อ ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน หากแต่จุดเน้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
(นัทธี จิตสว่าง, ๒๕๔๑)
สำาหรับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษผู้กระทำาผิดและการประหารชีวิต
ประกอบด้วย
๑) ทฤษฎีก�รลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution Theory)
เป็นทฤษฎีการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีความเชื่อว่าผู้ถูกประหารชีวิตจะต้องได้รับโทษ
ที่มีความรุนแรงสาสมกับความผิดที่ได้กระทำาลงไป จึงมีการใช้โทษประหารชีวิตมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ซึ่งส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าผู้กระทำาเป็นผู้ที่มีความชั่วร้ายในตัวเอง ดังนั้น จึงควรได้รับโทษประหาร
ชีวิตเพื่อกำาจัดความชั่วร้ายออกจากสังคม โดยแยกย่อยได้เป็น ๒ ทฤษฎี คือ
- ทฤษฎีสัญช�ตญ�ณ (Instinct Theory)
การลงโทษผู้กระทำาผิดเป็นการแสดงออกของสัญชาตญาณของคนในสังคม
เพื่อแก้แค้นหรือทดแทนการกระทำาผิด จากประมวลกฎหมายของกษัตริย์ฮีมมูราบีแห่งกรุงบาบิโลน
เมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ได้ปรากฏระบบการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน (an eye
for an eye and a tooth for a tooth) และกฎหมายไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงก่อน
สมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การลงโทษผู้กระทำาผิดมีลักษณะที่รุนแรงเช่นกัน อาทิ
กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. ๑๘๙๕ ได้กำาหนดโทษอาญาไว้ ๑๐ สถาน ที่สำาคัญ คือ
ก. ให้ฟันคอ ริบเรือน ริบราชบาทว์ เอาลูกเมีย ข้าคนเป็นจระบาทว์ ทรัพย์
หรือสิ่งของเอาเข้าห้องพระคลังจนสิ้น
ข. ให้ใส่มือ ใส่เท้า เข้าตรุไว้
ค. ให้ทวนด้วยลวดหนัง ไม้หวาย ยกหนึ่ง สองยก สามยก แล้วประจานใส่ตรุไว้
หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน
ง. ให้ตัดปาก แหวะปาก เอามะพร้าวห้าวยัดปาก
ตามกฎหมายนี้ โทษทางกายมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำาคุก และการ
ทำาอันตรายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตมีการลงโทษอย่างโหดร้าย
ทารุณ ซึ่งต่อมาตามกฎหมายลักษณะกบฏศึก พ.ศ. ๑๙๗๘ เรียกว่า โทษกรรมกร ๒๑ สถาน เช่น
ต่อยกะโหลกศีรษะ เลิกออกแล้วเอาคีมคีบเหล็กเผาไฟจนแดงใส่ลงบนมันสมอง เป็นต้น
การลงโทษผู้กระทำาผิดเพื่อแก้แค้นทดแทนตามทฤษฎีสัญชาตญาณยังคงใช้อยู่
ในปัจจุบัน โดยมีการลงโทษที่ไม่โหดร้ายดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา จากข้อเขียนของซู ติตัส เร็ด
(Sue Titus Reid) ศาลฎีกาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน
12 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ